กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4127
ชื่อเรื่อง: | ความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Pre-hospital delay in family members of patients with acute ischemic stroke |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิไลภรณ์ สว่างมงคล เขมารดี มาสิงบุญ วัลภา คุณทรงเกียรติ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การส่งต่อผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล โดยใช้กรอบแนวคิดการจัดการอาการของดอดด์และคณะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ญาติผู้ป่วยที่นำผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันมารับการรักษา ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชลบุรี ช้ากว่า 210 นาที (3.5 ชั่วโมง) จำนวน 85 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและญาติ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามความตระหนักในการเกิดโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน และแบบสอบถามการจัดการอาการโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ระยะเวลาที่ญาติผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ตั้งแต่เริ่มเกิดอาการของโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน เฉลี่ย 1,768 นาที (ประมาณ 29.5 ชั่วโมง) การจัดการอาการเมื่อญาติพบผู้ป่วยมีอาการของโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน คือ 1) รอให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นหรือหายไปเองจึงไม่พาไปโรงพยาบาล (ร้อยละ 48.3) 2) พยายามให้ผู้ป่วยผ่อนคลายด้วยการนอนพัก (ร้อยละ 32.9) 3) หายามาให้ผู้ป่วยรับประทาน เช่น แอสไพลิน หรือ พาราเซตตามอล (ร้อยละ 9.4) 4) บอกใครบางคนที่อยู่ใกล้ (ร้อยละ 3.5) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคสมองขาดเลือดอยู่ในระดับต่ำ (M = 17.5, SD = 3.20) ความตระหนักในการเกิดโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันอยู่ในระดับต่ำ (M = 1.68, SD = 0.47) และการรับรู้ความรุนแรงของโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันอยู่ในระดับต่ำ (M = 29.29, SD = 24.69) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรส่งเสริมให้ญาติผู้ป่วยมีความรู้ ความตระหนักและรับรู้ความรุนแรงของโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน และมีการจัดการอาการที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยมารับการรักษาได้ทันเวลา |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4127 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
nus28n3p90-101.pdf | 202.17 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น