กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4121
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorชนาภา งามฉาย
dc.contributor.authorตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
dc.contributor.authorสุพิศ ศิริอรุณรัตน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2021-06-14T01:24:18Z
dc.date.available2021-06-14T01:24:18Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4121
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารของหญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และฝากครรภ์ ณ ศูนย์ประกันสุขภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จำนวน 210 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ในการรับประทานอาหาร แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการรับประทานอาหาร แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการรับประทานอาหาร แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามแหล่งอาหารสุขภาพในโรงงานอุตสาหกรรม ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของทุกแบบสอบถามเท่ากับ 1.00 และความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82, .84, .85, .90, .86 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉลี่ยเท่ากับ 37.33 (SD = 4.46) โดยการรับรู้ ความสามารถของตนเองในการรับประทานอาหาร (β = .286, p < .001) การรับรู้อุปสรรคในการรับประทานอาหาร (β = -.249, p < .001) แหล่งอาหารสุขภาพในโรงงานอุตสาหกรรม (β = .142, p < .05) และการรับรู้ประโยชน์ในการรับประทานอาหาร (β = .142, p < .05) สามารถร่วมอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรม การรับประทานอาหารของหญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมได้ร้อยละ 22.3 ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมในหญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการรับประทานอาหารth_TH
dc.subjectสตรีมีครรภ์ -- โภชนาการth_TH
dc.subjectโภชนาการth_TH
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารของหญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมth_TH
dc.title.alternativePredicting factors of eating behaviors among pregnant women working in industrial factoriesen
dc.typeArticleth_TH
dc.issue1th_TH
dc.volume28th_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to study eating behaviors and factors predicting eating behaviors among pregnant women working in industrial factories. Samples were 210 pregnant women who visited antenatal clinics at social security center, Queen Savang Vadhana Memorial hospital. Data were collected by questionnaires including demographic data, eating behaviors, perceived nutritional benefit, perceived nutritional barrier, perceived nutritional self-efficacy, social support, and healthy food source in industrial factories. The content validity index of all questionnaires were 1.00 and the Cronbach’s alpha of questionnaires were .82, .84, .85, .90, .86 and .81, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression. The result found that average of eating behaviors was 37.33 (SD = 4.46). The significant factors which predicted eating behaviors included perceived nutritional self-efficacy (β = .286, p < .001), perceived nutritional barrier (β = -.249, p < .001), healthy food sources in industrial factories (β = .142, p < .05) and perceived nutritional benefit (β = .142, p < .05). The percentage of total variance explained by these factors among pregnant women working in industrial factories was 22.3%. The results of this study could develop the guideline for promoting the healthy eating behaviors among pregnant women working in industrial factories.en
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.page48-59.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
48-59.pdf211.8 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น