กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4119
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุพัตรา อันทรินทร์
dc.contributor.authorตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
dc.contributor.authorวรรณทนา ศุภสีมานนท์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบุรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2021-06-14T00:53:36Z
dc.date.available2021-06-14T00:53:36Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4119
dc.description.abstractการวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่รับบริการตรวจรักษา โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จำนวน 176 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ภาวะเสี่ยงของภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดการรับรู้ความเครียด ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89, .88, .92 และ .72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบถอยหลัง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นครรภ์หลัง (ร้อยละ 73.30) มีอายุครรภ์อยู่ในช่วงไตรมาสที่ 3 (ร้อยละ 77.84) มีค่าดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์อยู่ในกลุ่มน้ำหนักเกินและอ้วน (ร้อยละ 63.64) เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ชนิด เอวัน (ร้อยละ 74.43) และมีคะแนนความเครียดเฉลี่ยในระดับปานกลาง (mean = 17.70, SD = 3.79) จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางลบต่อความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.35, p < .001 และ β = -.15, p < .05 ตามลำดับ) และสามารถร่วมทำนายความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 19.1 (R2 = .191, F(2, 173) = 20.46, p < .001) ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะ พยาบาลและบุคลากรสุขภาพควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์มีความมั่นใจในความสามารถของตนเองและสนับสนุนครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์สามารถปรับตัวกับการเจ็บป่วยและมีภาวะเครียดลดลงth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectเบาหวานในสตรีมีครรภ์th_TH
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)th_TH
dc.subjectสตรีมีครรภ์ -- สุขภาพจิตth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์th_TH
dc.title.alternativeFactors influencing stress among women with gestational diabetes mellitusen
dc.typeArticleth_TH
dc.issue1th_TH
dc.volume28th_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeThis predictive research aimed to examine factors influencing stress among women with gestational diabetes mellitus. Participants were 176 pregnant women with gestational diabetes who visited Queen Savang Vadhana Memorial Hospital. They were selected by simple random sampling. Data were collected from May to September 2018. Research instruments consisted of personal data record form, perceived risk of gestational diabetes mellitus questionnaire, self-efficacy questionnaire, social support questionnaire and perceived stress scale. Cronbach’s alpha coefficients of the latter four questionnaires were .89, .88, .92, and .72, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and backward multiple regression. Results revealed that most participants were multigravida (73.30 %), were in the third trimester of pregnancy (77.84 %), had pre-gestational body mass as overweight and obesity (63.64%), and were diagnosed as GDM A1 (74.43 %). Their mean score of stress was at a moderate level (mean = 17.70, SD = 3.79). Self–efficacy and social support significantly negatively influenced their stress (β = -.35, p < .001; β = -.15, p < .05). Both variables significantly predicted 19.1 % of the variance in stress (R2 = .191, F (2, 173) = 20.46, p < .001). Research finding indicated that nurses and health care providers would promote women to perceive their self-efficacy and support their families to take care of women. Consequently, women with gestational diabetes mellitus might effectively cope with their illness, and then reduce their stress.en
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.page12-25.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
12-25.pdf238.42 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น