กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4117
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุปราณี คุณร้าน
dc.contributor.authorนันทพร ภัทรพุทธ
dc.contributor.authorศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
dc.date.accessioned2021-06-11T07:08:25Z
dc.date.available2021-06-11T07:08:25Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4117
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยงาน และความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจของพนักงานโรงสีข้าว กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานที่ทํางานในกระบวนการผลิต จํานวน 101 คน โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 86.1) อายุงานเฉลี่ย 10.86±8.00 ปี มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (ร้อยละ 60.4) พนักงานทํางานสัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 8 ชั่วโมง ปริมาณการรับสัมผัสฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ความเข้มข้นสูงสุดที่แผนกคลังสินค้า เท่ากับ 4.105 มก./ลบ.ม. อาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ พบว่าพนักงานมีอาการคัดจมูกร้อยละ39.6 มีเสมหะร้อยละ 30.7 ไอร้อยละ 28.7 แน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวกร้อยละ 21.8 และหายใจดังวี๊ดร้อยละ 4.0 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับอาการระบบทางเดินหายใจ พบว่าอาการมีเสมหะ อาการหายใจดังวี๊ดและอาการคัดจมูก มีความสัมพันธืกับปริมาณของฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เพศ โรคประจําตัว ส่วนงานที่รับผิดชอบ อายุงาน การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ และความชื้นสัมพัทธ์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p <0.05) ดังนั้นจึงควรมีการเฝ้าระวังและมีการตรวจสมรรถภาพของปอด พนักงานเป็นประจําทุกปี ผู้ปฏิบัติงานภายในโรงสีควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ ตลอดระยะเวลาการทํางาน ควรมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับพนักงาน โดยอาจจัดในลักษณะของโปรแกรมการให้ความรู้ คําแนะนํา และจัดกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้เพื่อให้มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectทางเดินหายใจ -- โรคth_TH
dc.subjectทางเดินหายใจ -- โรค -- ปัจจัยเสี่ยงth_TH
dc.subjectระบบหายใจth_TH
dc.subjectฝุ่นth_TH
dc.subjectโรงสีข้าวth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับอาการระบบทางเดินหายใจของพนักงานโรงสีข้าวจังหวัดนครราชสีมาth_TH
dc.title.alternativeFactors related to respiratory symptoms among rice mill workers in Nakon Ratchasima provinceen
dc.typeArticleth_TH
dc.issue1th_TH
dc.volume15th_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study the personal factors, work factors and respirable dust concentration related to abnormal respiratory symptoms among rice mill employees. The sample consisted of 101 workers in the production process of a rice mill. Most of the employees were male (86.1%) with an average of 10.86±8.00 years working experience. Respiratory protection equipment was used among 60.4% of them. They worked 8 hours/day, and 6 days per week. Concentration of respirable dust was highest in the storage department (4.105 mg/m3 ). Respiratory symptoms included nasal congestion (39.6%), phlegm (30.7%), cough (28.7%), chest congestion (21.8%), and wheeze (4%). Factors related to phlegm, wheeze, and nasal congestion were respirable dust concentration, gender, history of illness, position, work experience, wearing respiratory protection equipment and relative humidity (p <0.05). Dust concentration should be monitored, and lung function examined annually. Dust masks should be worn all the time during work hours. Health promotion activities in terms of educational programs, and health behavior modification should be provided.en
dc.journalวารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.page112-122.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112-122.pdf648.5 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น