กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4081
ชื่อเรื่อง: การขยายตัวของเมืองกัลกัตตาและการสร้างสถาปัตยกรรมภายใต้อิทธิพลของอังกฤษตั้งแต่ ค.ศ. 1690-1911
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The expansion of Calcutta and its architecture under British influence since 1690-1911 A.D.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรัญญา ประสพชิงชนะ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: สถาปัตยกรรม - - อินเดีย.
สถาปัตยกรรม - - อินเดีย- - อิทธิพลอังกฤษ
สถาปัตยกรรมกับประวัติศาสตร์- - อินเดีย.
ประวัติศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์เมืองกัลกัตตา แคว้นเบงกอล อินเดีย ที่มีวิวัฒนาการควบคู่ไปกับบริบททางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายใต้เงื่อนไขในสมัยการปกครองของอังกฤษตั้งแต่ ค.ศ. 1690-1911 และเพื่อศึกษาการขยายตัวของเมืองกัลกัตตาและการสร้างสถาปัตยกรรมภายใต้อิทธิพลของอังกฤษตั้งแต่ ค.ศ. 1690-1911 ผลการวิจัยพบว่า นับตั้งแต่ ค.ศ. 1690-1858 ที่อังกฤษได้เข้ามาตั้งสถานีการค้า และสร้างป้อมปราการชื่อป้อมวิลเลียม และต่อมาได้ขยายตัวเป็นเมืองกัลกัตตา โดยเริ่มต้นจากการขยายตัวไปตามแนวแม่น้ำฮุกลีจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ โดยบริเวณจัตุรัสดัลเฮาซีได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่ศูนย์กลางการปกครองของเมืองกัลกัตตา อันก่อให้เกิดการสร้างงานสถาปัตยกรรมขึ้นเพื่อรองรับงานในโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง โดยเฉพาะทางด้านการทหารและเศรษฐกิจ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์กบฏซีปอย (ค.ศ. 1857-1858) นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เพราะทำให้รัฐบาลอังกฤษเข้ามาปกครองอินเดียในฐานะอาณานิคมโดยตรง ส่งผลให้การขยายตัวเมืองและการสร้างสถาปัตยกรรมเมืองกัลกัตตา หลัง ค.ศ. 1857 มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการปกครองในฐานะอาณานิคมโดยตรง ทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของอังกฤษ และเป็นอาคารที่แสดงให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคมที่ได้รับอิทธิพลจากอังกฤษได้ชัดเจนที่สุด จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1911 ได้มีการย้ายเมืองหลวงไปที่เดลี
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4081
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
huso28n3p190-213.pdf1.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น