กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4074
ชื่อเรื่อง: | ความหลากหลายทางชีวภาพและความผันแปรตามฤดูกาลของประชาคมแบคทีเรียในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Diversity and seasonal variation of bacterial community it’s application in the Marine Plant Genetic Conservation Area on the Coastal zone of the east of Thailand for Conservation and Sustainable Utilization |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชุติวรรณ เดชสกุลวัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
คำสำคัญ: | พืชทะเล สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชาคมแบคทีเรียและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ปกปัก พันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร อ.สัตหีบ จังหวัดชลบุรี จึงเลือกศึกษาบริเวณ หาดเตย และหาดเทียน เกาะจวง เกาะปลาหมึก แสมสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชาคมของแบคทีเรียทะเลที่อาศัยอยู่ร่วมกับฟองน้ำทะเลและน้ำทะเล ได้ดำเนินการสำรวจและตัวอย่างฟองน้ำ แล้วคัดแยกแบคทีเรียได้ 7๐ ไอโซเลต จากฟองน้ำ 9 ตัวอย่าง และ จากน้ำทะเล 6 ตัวอย่าง สามารถพบแบคทีเรียอาศัยอยู่ในฟองน้ำแต่ละตัวอย่างแตกต่างกันโดยพบมีแบคทีเรียอาศัยอยู่จำนวนมากที่สุดในฟองน้ำท่อน้ำตาล SS -B 04 จำนวน 2.51 x 106 โคโลนีต่อกรัม และน้อยที่สุดใน ฟองน้ำเมือกม่วง SS -A 02 จำนวน 4.04 x 103 โคโลนีต่อกรัม ดังรายละเอียดในตารางที่ 1 ส่วนในน้ำทะเลได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างจาก 4 พื้นที่จากบริเวณชายฝั่ง หาดเตย หาดเทียน เกาะจวงและ เกาะปลาหมึก หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี พบมีแบคทีเรียเจริญได้แตกต่างกันดังนี้ 1.05 x103 , 1.85 x 102 2.65 x 102, และ 8.95 x 102 โคโลนีต่อมิลลิลิตร ตามลำดับดังรายละเอียดใน ตารางที่ 2 จากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาเป็นแบคทีเรียแกรมลบและสมบัติทางชีวเคมีสามารถบ่งชี้ ใ น เ บื้ อ ง ต้น ไ ด้ เ ป็ น ส กุล Pseudomonas, Alteromonas, Pseudoalteromonas, Vibrio, Flavobacterium, Acinetobacter, และกลุ่มที่ไม่สามารถจำแนกชนิดได้ และจากการจำแนกชนิด แบคทีเรียทะเลที่คัดแยกจากน้ำและดินตะกอนในระดับชีวโมเลกุลพบว่าเป็นแบคทีเรียกรัมลบที่มีชนิด แ ต ก ต่า ง กัน ไ ด้แ ก่ Pseudomonas taiwanensis, Pseudomonas pseudoalcaligenes แ ล ะ Pseudoalteromonas sp. เมื่อได้แบคทีเรียบริสุทธิ์แล้ว จะทำการเก็บรักษาเพื่อดำเนินการทำการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ โดย วิธี Disc diffusion Agar Assay ตลอดจนการสร้างสารชีวรงควัตถุ จากแบคทีเรียทะเลที่อาศัยอยู่ร่วมกับ ฟองน้ำทะเลและน้ำทะเล เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ พบว่ามีแบคทีเรียจำนวน 9 ไอโซเลตที่แสดงฤทธิ์ทาง ชีวภาพในการยับยั้งแบคทีเรียที่ทดสอบ โดยแบคทีเรียสายพันธุ์ SS -A 2-2 SS -B 2-5 SS -C 2-3 แสดง ฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียทดสอบ B. subtilis ดีที่สุด |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4074 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_240.pdf | 972.72 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น