กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4067
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุเมตต์ ปุจฉาการ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned2021-05-07T06:07:50Z
dc.date.available2021-05-07T06:07:50Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4067
dc.descriptionโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (อพ.สธ.) (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.description.abstractทำการสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชนิดและประชาคมของเอคไคโนเดิร์มในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยกาหนดจุดสำรวจและเก็บข้อมูลตามพื้นที่เกาะที่คัดเลือกเป็นตัวแทนจำนวน 4 สถานี ได้แก่ 1) สถานีเกาะปลาหมึก 2) สถานีหาดเตย เกาะแสมสารทิศตะวันตก 3) หาดเทียน เกาะแสมสารทิศตะวันออก และ 4) สถานีเกาะจาน ทิศเหนือ ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม 2560 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2560 รวม 6 ครั้ง ได้ผลการศึกษาคือ พบเอคไคโนเดิร์มในแนวสำรวจ 9 ชนิดจาก 5 วงศ์ ได้แก่ กลุ่มดาวทะเล 1 ชนิด กลุ่มเม่นทะเล 3 ชนิดและกลุ่มปลิงทะเล 5 ชนิด เอคไคโนเดิร์มมีความชุกชุมหนาแน่นเฉลี่ยในรอบปี 21.36 ตัวต่อ 100 ตารางเมตร เม่นดำหนามยาว Diadema setosum เป็นเอคไคโนเดิร์มที่มีความชุกชุมหนาแน่นมากที่สุด พบเอคไคโนเดิร์ม 2 ชนิดที่มีแบบแผนการกระจายแบบสม่ำเสมอ 1 ชนิดมีการแพร่กระจายแบบสุ่ม และ 6 ชนิดที่มีแบบแผนการกระจายแบบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นกระจุก ความมากชนิดของเอคไคโนเดิร์มในพื้นที่ศึกษามีค่าเฉลี่ยในรอบปีเท่ากับ 4.25 ชนิด ดัชนีความสม่ำเสมอมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.189 ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.181 ค่าดัชนีทั้งสองค่านี้มีค่าน้อยมาก แสดงให้เห็นว่าเอคไคโนเดิร์มในพื้นที่ศึกษามีโอกาสพบน้อยมากรวมทั้งความหลากหลายทางชนิดน้อยและพบเอคไคโนเดิร์มชนิดใดชนิดหนึ่งคือ เม่นดำหนามยาวเป็นจำนวนมากกว่าเอคไคโนเดิร์มชนิดอื่น ๆ สูงมาก เอคไคโนเดิร์มอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นดินทราย กินอินทรียวัตถุในดินตะกอนพื้นทะเลเป็นอาหาร โดยมีการกินอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน องค์ประกอบภายในทางเดินอาหารของเม่นดำหนามยาวประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ดินตะกอนพื้นทะเล (ทราย เศษซากปะการัง ซากของเปลือกหอย) 99.76% รองลงมาเป็นกลุ่มพืชทะเล ได้แก่ สาหร่ายทะเลต่าง ๆ 0.22% และซากสัตว์ทะเลซึ่งส่วนมากเป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มต่าง ๆ 0.01% ในขณะที่ปลิงดำแข็ง Holothuria atra และปลิงดานิ่ม Holothuria leucospilota มีองค์ประกอบภายในทางเดินอาหารซึ่งประกอบด้วยดินตะกอนพื้นทะเล (ทราย เศษซากปะการัง ซากของเปลือกหอย) 100% ปริมาณสารอินทรีย์ในตัวอย่างดินตะกอนหมู่เกาะแสมสารในปี 2560 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.63% ปริมาณสารอินทรีย์ในทางเดินอาหารและมูลของของเม่นดำหนามยาวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.40% และ 1.68% ตามลาดับ ส่วนปริมาณสารอินทรีย์ในทางเดินอาหารและมูลของปลิงดำแข็งและปลิงดำนิ่มมีค่าใกล้เคียงกันคือ 1.78%, 0.75%, 1.35% และ 0.70% ตามลาดับ เอคไคโนเดิร์มในบริเวณหมู่เกาะแสมสารมีบทบาทของการเป็นสัตว์ที่ช่วยในการหมุนเวียนสารอินทรีย์ในดินตะกอนซึ่งอาจอยู่ในรูปของการรวบรวมสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่เข้าสู่การขบวนการย่อยและดูดซึมแล้วปรับเปลี่ยนให้สารอินทรีย์โมเลกุลขนาดเล็กลงเหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตหน้าดินอื่น ๆ ได้ ใช้ประโยชน์ต่อไป ลักษณะเนื้อดินตะกอนพื้นทะเลเป็นดินทราย ประกอบด้วยสัดส่วนของดินทราย ดินโคลนและดินร่วนเท่ากับ 91.84%, 5.95% และ2.21% ตามลาดับคุณภาพน้ำทะเลในบริเวณพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 1 คุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectพืชทะเลth_TH
dc.subjectการอนุรักษ์พืชth_TH
dc.subjectเอคไคโนเดิร์มth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการให้บริการเชิงนิเวศของเอคไคโนเดิร์มในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเลหมู่เกาะแสมสารจังหวัดชลบุรี (สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)th_TH
dc.title.alternativeEcological services of echinoderms in the Marine Plant Genetic Conservation Area, Mo Ko Samaesarn, Chon Buri province (Under the Plant Genetic Conservation Project Under the Royal Initiative of Her Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn)en
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsumaitt@buu.ac.thth_TH
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativeSpecies diversity and ecological monitoring of echinoderms had been investigated along the Marine Plant Genetic Conservation Area, Mo Ko Samaesarn, Sattahip, Chon Buri province, Thailand. The surveys were conducted bimonthly in fiscal year 2017 during January, 2017 to November, 2017 including 4 stations by using scuba diving and observed the transected line for 100 meters. The results showed 9 echinoderm species as follows Asteroidea 1 species, Echinoidea 3 species and Holothuroidea 5 species. All echinoderms were also commonly found in Gulf of Thailand. The density of echinoderm was average as 21.36 individuals/100 m2. Diadema setosum was the most widely distributed echinoderm in study area. The distribution pattern of echinoderms were divided into 2 species were uniform, 1 species was random and 6 species were clumped. Species richness of echinoderm stations was average as 4.25 species, Evenness index was averaged as 0.189 and Diversity index was averaged as 0.181. Both index values were very low, which showed that echinoderm in the study area is very rare and one species, Diadema setosum was the most abundancs from the others. Elements within the digestive tract of D. setosum consist of 3 main components: sediment from the sea bottom is average of 99.76%, followed by marine plant such as seaweeds are average of 0.22%, and marine invertebrates are average of 0.01%. Holothuria atra and Holothuria leucospilota have 100% sediment in digestive tract. The organic matter in sediment was an average of 0.63%, the organic matter in the digestive tract of D. setosum was 7.40% and fecal was 1.68 and sea cucumber, H. atra and H. leucospilota were 1.78% and 1.35% and the fecal were 0.75 and 0.70 respectively. Thus, the ecological role of echinoderm in this study area is synthesizes large organic molecules into sub-processes and adsorbs and then modifies them to smaller molecular organic substances which optimize for marine microorganism utilize these small molecule. Particle size of the sediment of the study area was sandy soils, with the ratio of sand an average of 91.84% clay 5.95%, and silt 2.21%. Water quality in the study area had an average standard of water quality in Class 1 water quality to conserve natural resourcesen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_250.pdf3.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น