กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4063
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorปัทมา ศรีน้ำเงิน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
dc.date.accessioned2021-04-28T14:21:40Z
dc.date.available2021-04-28T14:21:40Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4063
dc.descriptionโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559th_TH
dc.description.abstractหญ้าทะเล (Seagrass) เป็นพืชที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศทางทะเลตามบริเวณชายฝั่งเป็นอย่างมาก ทั้งในส่วนของ carbon sink และมีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนในบรรยากาศได้เป็นอย่างดี โดยอินทรีย์คาร์บอนในหญ้าทะเลรู้จักกันชื่อเรียกว่า คาร์บอนสีน้าเงิน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาศักยภาพการสะสมอินทรีย์คาร์บอนที่อยู่ในหญ้าทะเล 2 ชนิด คือ Enhalus acoroides และ Halodule pinifolia ที่ขึ้นบริเวณพื้นที่ศึกษาเขตศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี โดยการวัดปริมาณชีวมวลและอินทรีย์ คาร์บอนจากส่วนที่อยู่เหนือดิน คือ ลำต้นและใบ และส่วนที่อยู่ใต้ดิน คือ เหง้า และราก ที่ขึ นตามบริเวณชายฝั่งทะเลประมาณ 0.5, 0.51.0 และมากกว่า 1.0 กิโลเมตร ขึ้นไป พบว่าหญ้าทะเลชนิด E. acoroides มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสะสมอยู่บริเวณเหง้ามากที่สุดถึง 43.67% แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสะสมบริเวณใบและรากคือ 34.69% และ 34.47% ตามลำดับ ในขณะที่ทุกส่วนของ หญ้าทะเลชนิด H. piniforlia คือ ใบ เหง้าและราก มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสะสมไม่แตกต่างกันคือ 42% และ 43% ตามลำดับ โดยปริมาณ อินทรีย์คาร์บอนนี้ไม่ขึ้นกับตำแหน่งหรือบริเวณที่หญ้าทะเลทั้งสองชนิดนี้ เจริญเติบโตอยู่การศึกษาอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงในรอบวันของหญ้าทะเลพันธุ์ E. acoroides Linn. ทำการศึกษาในช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศแตกต่างกัน ในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน พ.ศ. 2559 วัดการสังเคราะห์ด้วยแสงในรอบวันพร้อมกับการเก็บข้อมูลของสภาพอากาศ ได้แก่ ความเข้มแสง อุณหภูมิของอากาศและน้ำ และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงคำนวณได้จากการปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ใน chamber ที่ลดลง โดยมีการวัดสลับกันระหว่าง chamber ที่มีหญ้าทะเลและไม่มีหญ้าทะเล จากผลการทดลอง พบว่า อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของหญ้าทะเลมีการเปลี่ยนแปลงในรอบวันและตามฤดูกาลขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของความเข้มแสงและอุณหภูมิของอากาศและน้ำ โดยในช่วงเช้าอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มขึ้นและมีค่าสูงที่สุดในเวลาเที่ยงวัน และมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องในเวลาเย็น อัตราการสังเคราะห์แสงของหญ้าทะเล มีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.5 μmol CO2 m-2s-1 และมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงมากที่สุด เท่ากับ 350 ppm แสดงว่า มีการดูดกลืนคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด ส่วนค่า pH ในน้ำทะเล มีค่าคงที่ตลอดทั้งวัน ทั้งนี้ ค่า pH ในหญ้าทะเลในช่วงเวลา 7.00 - 12.00 น. มีค่าต่ำกว่าค่า pH ในน้าทะเล ในขณะที่ในช่วงเวลา 13.00 – 17.00 น. pH ในหญ้าทะเลจะมีค่าสูงกว่าในน้ำทะเล การศึกษาการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของหญ้าทะเล Enhalus acoroides Linn โดยวิธีการวัดการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบปิด ตู้วัด (chamber) ทำจากตู้กระจกใสขนาด 29 x 39 x 40 ซม. ซึ่งฝาปิดด้านบนท้าด้วยแผ่นพลาสติก PE ใสหนา 1.2 μm ความเข้มข้นของ CO2 ในอากาศ ตรวจวัดด้วยเครื่องวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศด้วยรังสีอินฟราเรด รุ่น LI-820 (LI-COR, Inc) โดยการต่อสายสุ่มอากาศจากตู้มายังเครื่องวัดและหมุนเวียนอากาศที่ผ่านการวัดแล้วกลับไปยังตู้อีกครั้งหลังจากตรวจวัด ภายในตู้วัดบรรจุน้ำทะเลที่มีความเค็ม 30 พีพีที และมีความลึก 15 ซม. ทดสอบการวัดทุก ๆ 1 ชั่วโมง ตั งแต่เวลา 8:00 – 17:00 น. พร้อมการเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม ได้แก่ ความเข้มแสง อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ อุณหภูมิและความเป็นกรด-เบส (pH) ของน้ำ คำนวณอัตราการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่า อัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของหญ้าทะเลมีการเปลี่ยนแปลงในรอบวันสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของความเข้มแสง โดยในช่วงเช้ามีการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีค่าต่ำและเพิ่มขึ้นจนมีค่าสูงที่สุดในเวลา 13.00 น. หลังจากนั้นมีค่าลดลงในช่วงบ่าย การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของหญ้าทะเล มีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.3 μmol CO2 m-2s-1 ค่าความเป็นกรด-เบสของน้าทะเลที่ไม่มีหญ้าทะเลคงที่ 6.6 ตลอดการดลอง ขณะที่ค่าความเป็นกรด-เบสของน้ำทะเลที่มีหญ้าทะเลมีค่า 5.8 ในช่วงเข้าและค่าความเป็นกรด-เบสเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมีค่าสูงสุด 7.5 เมื่อเวลา 17.00 น.th_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรีth_TH
dc.subjectหญ้าทะเล - - จันทบุรีth_TH
dc.subjectหญ้าทะเลth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleโครงการวิจัยการสะสมคาร์บอนของหญ้าทะเลที่มีผลต่อการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ศึกษาเขตศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรีth_TH
dc.title.alternativeThe climate change mitigation in the form of seagrass carbon accumulation at Khung Kraben Bay Royal Development Study Center, Chanthaburi Provinceen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailpattama@buu.ac.thth_TH
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativeSeagrass takes a highly important role in the coastal ecosystem as a carbon sink and carbon sequestration. Organic carbon, known as ‘blue carbon,” accumulates in all parts of seagrass. An objective of this research was to study the potential of the organic carbon sequestration in Enhalus acoroides and Halodule pinifolia at KhungKraben Bay Royal Development Study Center, Chanthaburi province. The above-ground biomass and organic carbon were estimated, including leaves, rhizome and root at 0.5, 0.5-1.0 and more than 1.0 kilometer along the coastal line. The result showed that the highest organic carbon of E. acoroides were accumulated in rhizome at 43.67%, which at leave and root, they were 34.69% and 34.47%, respectively. The organic carbon in all parts ofleave, rhizome and root of H. piniforlia was not significantly different; 42% and 43%, respectively. The amount of the organic carbon of these types of seagrass was not based on area of their growth. A study of diurnal photosynthesis of seagrass, Enhalus acoroides Linn. was done in the difference of weather conditions, February March and April. Diurnal photosynthesis was measured concurrent with weather data i.e. light indensity, air and water temperature, and air humidity. The photosynthesis rate was calculated by using value of the decrease of carbon dioxide concentration between the chamber with and without seagrass. The results showed that diurnal photosynthesis rate of seagrass changed during the day and season depended on light indensity, air and water temperature. The photosynthesis rate increased sharply and reached maximum at noon after that it decreased in the afternoon. The maximum photosynthesis rate was about 0.5 μmol CO2 m-2s-1 and carbon dioxide concentration decreased about 350 ppm. PH in the saewater was stable throughout the day. PH in the seagrass at 7.00 - 12.00 am was lower than in the seawater whereas pH in the seagrass at 1.00 - 5.00 pm was higher than in the seawater. A study on CO2 absorption of seagrass Enhalus acoroides Linn. using CO2 flux measurement technique in close system. The chamber was made from the transparent glass 29 x 39 x 40 cm. The top of the chamber was closed with a 1.2 μm transparent PE sheet. The CO2 concentration in the air was measured with an infrared gas analyzer model LI-820 (LI-COR, Inc). The sampling tube was used to circulate the air from the chamber to the analyzer and then back to the chamber. In the chamber, the sea water with salinity 30 ppt was filled at 15 cm depth. The measurement was done every 1 hour from 8:00 am to 5:00 pm. Light intensity, air temperature and humidity, water temperature and pH were also recorded at the measurement time. The CO2 absorption was calculated. The result found that CO2 absorption was change correlated to light intensity. The lower CO2 absorption was found in the morning then raise up to highest at 1:00 pm then lower in the afternoon. The highest CO2 absorption of seagrass was 0.3 μmol CO2 m-2s-1 .The pH of sea water for the chamber without seagrass was constant at 6.6 through the experiment. The pH of sea water for the chamber with seagrass was 5.8 in the morning then raise up to 7.5 at 5:00 pm.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_234.pdf2.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น