กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4047
ชื่อเรื่อง: | ศักยภาพการออกฤทธิ์ของพืชสมุนไพรท้องถิ่นภาคตะวันออกของประเทศไทยต่อการปกป้องเซลล์ประสาทในโรคความเสื่อมจากระบบประสาทกลาง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The potential effect of indigenous medicinal plant in The Eastern Region Part of Thailand on neuroprotection in neurodegenerative diseases |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปรัชญา แก้วแก่น มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | พืชสมุนไพร - - การใช้รักษา - - วิจัย ระบบประสาทส่วนกลาง - - โรค สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โรคความเสื่อมจากระบบประสาทกลางเป็นภาวะหนึ่งที่มีอุบัติการณ์เกิดโรคสูงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรไทย โรคความเสื่อมจากระบบประสาทกลางที่สำคัญ คือ โรคพาร์กินสัน จากการศึกษาที่ผ่านมาที่รายงานกลไกของอนุมูลอิสระต่อการเกิดพยาธิสภาพของโรคพาร์กินสัน และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดผักกูด ผู้วิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่าสารสกัดผักกูดสามารถมีฤทธิ์ต่อการปกป้องเซล์ประสาท ตลอดจนการผลต่อการเพิ่มการเรียนรู้และความจำ ในการศึกษานี้ผู้วิจัยจึงได้นำสารสกัดแอลกอฮอล์ของสารสกัดผักกูดขนาดต่าง ๆ ได้แก่ 10, 50 และ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวมาป้อนหนูขาวพันธุ์ Wistar เพศผู้น้ำหนักประมาณ 280-320 กรัม จากนั้นนำมาเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะจำลองโรคพาร์กินสัน ด้วยการฉีดสาร 6 OHDA แล้วนำมาประเมินการเปลี่ยนแปลงของอนุมูลอิสระที่พบในเนื้อเยื่อสมองหนูแรท โดยการประเมินการเปลี่ยนแปลง oxidative stress markers ได้แก่ ปริมาณ Malondialdehyde (MDA) การทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ Superoxide dismutase (SD), Catalase (CAT) และ Glutathione peroxidase (GPx) ในสมองส่วน Cerebral cortex, Striatum และ Hippocampus พบว่าหนูแรท กลุ่มที่ได้รับสารสกัดผักกูด มีการทางานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระที่กล่าวข้างต้นเพิ่มขึ้น และพบการเปลี่ยนแปลงของการลดลงของ MDA ลดลงทุกขนาดของสารสกัด และเมื่อประเมินผลการให้สารสกัดผักกูด ในการปกป้องสมองพบว่า หนูแรทกลุ่มที่ได้รับสารสกัดผักกูด ขนาด 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว ความหนาแน่นของเซลล์ประสาทที่รอดชีวิตเพิ่มมากขึ้น ความหนาแน่นของเซลล์ประสาท Bcl-2 เพิ่มมากขึ้น และความหนาแน่นของเซลล์ประสาท Caspase-3 ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดผักกูด ดังนั้นการวิจัยนี้แสดงถึงกลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดผักกูดในวิถีอะพอพโทซิสได้ อย่างไรก็ตามกลไกการออกฤทธิ์หลักของสารสกัดผักกูดนั้นยังต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4047 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_216.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น