กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4007
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพึ่งพาตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนชายทะเลต้นแบบ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Technology and information systems to enhance the independence and quality of life of the elderly in the coastal community |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภาณุวัฒน์ ด่านกลาง รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์ วารี กังใจ |
คำสำคัญ: | เทคโนโลยีสารสนเทศ พฤติกรรมการใช้ คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ระบบสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิดทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและปรับพฤติกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุ และออกแบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะกับผู้สูงอายุในชุมชนชายฝั่งทะเล ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุในเขตชายฝั่งทะเล ตำบลแสนสุข อำเภอ เมือง จังหวัดชลบุรี ของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 300 คน พบว่า ผู้สูงอายุติดตามข้อมูลข่าวสารจากสื่อประเภทโทรทัศน์ทุกวัน รองลงมาคือ วิทยุ สำหรับอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่กลุ่มตัวอย่างไม่สนใจ เมื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลเมืองแสนสุข พบว่า ไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต และมีระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้งานน้อยกว่า 30 นาที ทั้งนี้ผู้สูงอายุเห็นว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวมีผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นประจาจะช่วยให้ท่านทราบถึงประโยชน์ของการใช้งาน แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ จากการศึกษาความต้องการข้อมูลด้านต่าง ๆ พบว่า มีความต้องการสื่อสารกับเพื่อนหรือญาติ และข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการติดต่อขอความช่วยเหลือยามฉุกเฉินมากที่สุด 2. การปรับพฤติกรรมด้านการยอมรับเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ ได้จัด กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง “วัยเก๋าเข้าใจไอที” ให้แก่ผู้สูงอายุที่สมัครใจเข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและ Social Media เช่น Line Facebook Youtube เป็นต้น อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอนาคต ระยะเวลาที่ใช้ใน การอบรมทั้งหมด 6 ชั่วโมง โดยมีวิทยากรและผู้ช่วยวิทยากรดูแลรวมถึงตอบข้อซักถาม พร้อมสังเกตุทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุตลอดระยะเวลาการอบรม ผลการวัดทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุก่อนเรียน แตกต่างจากคะแนนทักษะของผู้สูงอายุหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้สูงอายุความพึงพอใจต่อภาพรวมในการจัดโครงการอบรม อยู่ในระดับมาก และเห็นว่าโครงการอบรมฯ มีประโยชน์เป็นอย่างมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากในทุกด้าน ซึ่งมีเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านวิทยากรและการบรรยาย ด้านบริการและสถานที่ ด้านเอกสารประกอบการอบรม และด้านกิจกรรมการอบรม ตามลำดับ 3. ระบบแจ้งเตือนเพื่อขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจะใส่สร้อยคอเป็น อุปกรณ์ขอความช่วยเหลือ ซึ่งมีหน้าที่ส่งข้อมูลการแจ้งเตือนของผู้ส่วมใส่ส่งผ่าน Bluetooth ไปยัง Smartphone ซึ่งทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ ( IoT gateway) เพื่อส่งข้อมูลที่ได้ไปยังระบบแจ้งเตือนเมื่อขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลการแจ้งเตือนต่าง ๆ ผ่าน Cloud Service ที่มีผู้ดูแลรับผิดชอบอยู่ ผลการทดสอบการทดลองใช้ระบบฯ พบว่า ผู้สูงอายุเห็นว่าระบบฯ มีประโยชน์เหมาะสม ด้านเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ พบว่า ระบบฯ มีประโยชน์ เหมาะสมครอบคลุมความต้องการ และทำให้สามารถเข้าถึงผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือได้ง่ายและรวดเร็ว จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อวัน คือประมาณ 3 ชั่วโมง และควรจัดมีการให้ความรู้ซ้ำ ๆ และต่อเนื่อง เนื่องจากสภาพความพร้อมของร่างกายและความเหนื่อยล้า |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4007 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_164.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น