กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4003
ชื่อเรื่อง: การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและความสมารถในการทำงานของกลุ่มชาวประมงในจังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Health risk assessment and work ability among fishermen group in Rayong province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
มริสสา กองสมบัติสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: ชาวประมง -- ผลกระทบจากสารเคมี
ชาวประมง -- ไทย -- ระยอง
ชาวประมง -- การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ
ชาวประมง -- สุขภาพและอนามัย
สารตัวทำละลายอินทรีย์ -- พิษวิทยา
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีการประเมินการรับสัมผัสสาร Organic solvent และการประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงประเมินความสามารถในการทำงานโดยจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษามี 250 คน เป็นเพศชายทั้งหมด 100 % แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 150 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 100 คน กลุ่มศึกษามีอายุเฉลี่ย 44.13 ปี และ 33.04 ปี สำหรับกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มศึกษาในแต่ละวันส่วนใหญ่ทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับการประมง น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 47.3 และทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 68.0 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้งเพียงร้อยละ 0.7 โดยส่วนใหญ่มีการใช้ผ้าปิดจมูก ร้อยละ 100.0 การประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น พบว่า ร้อยละ 70.0 ที่มีความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในภาพรวมปกติ ค่า SGOT ปกติ ร้อยละ 52.7 ค่า SGPT ปกติ ร้อยละ 78.7 การทำงานของไต โดยค่า BUN และ Creatinine ปกติ ร้อยละ 95.3 และ 92.0 ตามลำดับ และร้อยละ 76.0 สมรรถภาพปอดในภาพรวมปกติ และระดับความสามารถในการทำงาน อยู่ในระดับดี ร้อยละ 70.0 ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า กลุ่มศึกษา (n=150) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Toluene 26.17 ± 51.480 ppb, Xylene 247.55 ± 43.110 ppb, Acetone 49.56 ± 38.067 ppb และ Hexane 121.82 ± 177.847 ppb และมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่า กลุ่มศึกษา (n=150) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Hippuric acid 382.85 ± 384.061 mg/g creatinine และ Methylhippuric acid 20.09 ± 96.495 mg/g creatinine นอกจากนี้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Organic solvent ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า สาร Xylene มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.029) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความสามารถในการทำงานระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.001) และเมื่อหาความสัมพันธ์พบว่าปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Organic solvent ในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคลและ Hippuric acid และ Methylhippuric acid กับความสามารถในการทำงานของกลุ่มศึกษาพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่พบว่า เกล็ดเลือด, FEV1, FEV1/FVC มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานของกลุ่มศึกษา (p = 0.027, p = 0.035 และ p = 0.022 ตามลำดับ) จากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า กลุ่มศึกษาควรได้รับการจัดให้มีโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ การตรวจสุขภาพและการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายและวิธีการป้องกันของสภาพแวดล้อมในการทำงานรวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไปในขณะปฏิบัติงาน
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4003
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_168.pdf2.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น