กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3992
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | อาณัติ ดีพัฒนา | |
dc.contributor.author | อาลักษณ์ ทิพยรัตน์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-12-27T05:32:42Z | |
dc.date.available | 2020-12-27T05:32:42Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3992 | |
dc.description | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 | th_TH |
dc.description.abstract | นวัตกรรมโถปัสสาวะชายปลอดเชื้อโรคปราศจากกลิ่น ไม่ทำให้เกิดการกระจายคราบปัสสาวะและเกิดภาระในบ่อบำบัดน้ำเสียเป็นนวัตกรรมที่ประกอบไปด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิคที่มีพลังงานคลื่น สร้างโดยตัวแปลงสัญญาณ piezoelectric ใช้ในการผลิตหมอกหรือละอองลอยที่เต็มไปด้วยอนุมูลอิสระต่าง ๆ เพื่อใช้ในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ กระบวนการออกซิเดชั่นขั้นสูงในหลายรูปแบบสามารถสร้างอนุมูลอิสระได้ โดยการกระจายตัวของละอองลอยอนุภาคขนาดเล็กมีฤทธิ์ในการออกซิไดส์สูงนี้ การทดสอบประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อของโถปัสสาวะใช้ตัวแทนเชื้อแบคทีเรียที่เป็น Escherichia coli / coliform และเชื้อราที่เป็น Aspergillus niger ที่มีการเติบโตหรือเกิดขึ้นบนผิวหน้าของอาหารเลี้ยงเชื้อได้ดี โดยกระบวนการออกซิเดชั่นขั้นสูงนี้ ประกอบด้วย สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (1, 3, และ 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก) สารละลายโอโซน (เครื่องกำเนิดโอโซนขนาด 7 กรัม/ชั่วโมง อัตราการไหลก๊าซออกซิเจน 2 ลิตร/นาที) และหลอดยูวี (4 หลอด แต่ละหลอดมีขนาด 15 วัตต์ ด้วยความเข้มแสง 2.88 กิโลจูล/ตารางเมตร) ผลลัพธ์ที่เกิดจากการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของโถปัสสาวะพบว่า เงื่อนไขดังกล่าวไม่แตกต่างจากการใช้สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพียงอย่างเดียว หรือทำงานร่วมกันกับสารละลายโอโซนและแสงยูวี เป็นต้น สามารถก่อให้เกิดอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลที่ทาให้จำนวนของเชื้อจุลินทรีย์ลดลงหรือทำลายได้จากเริ่มต้น แต่การทดลองด้วยสารละลายโอโซนและแสงยูวีเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถลดความเข้มข้นของเชื้อจุลินทรีย์ได้จากความเข้มข้นของเชื้อเริ่มต้น การพ่นละอองลอยในโถปัสสาวะด้วยสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพียงอย่างเดียว สามารถลดจำนวนของ E. coli/coliform ได้จากเริ่มต้น และทำให้เชื้อ A. niger ลดลงด้วย โดยได้ผลดีกว่า E. coli/coliform ปฏิกิริยาโฟโตแคททาไลติคด้วยการใช้แสงยูวีไม่ได้ช่วยเพิ่มการทำลายเชื้อ E. coli/coliform อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับวิธีก่อนหน้า อย่างไรก็ตามสามารถยับยั้งเชื้อ A. niger ได้ด้วยการพ่นละอองลอยของสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ใน 10 นาที สามารถทำลายได้หมด งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงการเกิดอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลแรดิคอลโดยการกระตุ้นของแสงยูวีร่วมกับสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโถปัสสาวะชาย การทำงานของสารละลายโอโซนร่วมกับสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ยิ่งเพิ่มความสามารถในการทำลายเชื้อ E. coli/coliform ได้ดีกว่าวิธีอื่น สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 5 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับสารละลายโอโซนสามารถทำลายเชื้อ E. coli/coliform ภายใน 8 นาทีและเพิ่มฤทธิ์การทำลายเชื้อ A. niger ได้ดีเช่นกัน การทำงานร่วมกัน 3 ชนิด ทั้งสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ สารละลายโอโซน และแสงยูวี ยิ่งเร่งเวลาในการทำลายของเชื้อ E. coli/coliform ในโถปัสสาวะโดยการทำงานของสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 5 เปอร์เซ็นต์ สารละลายโอโซนและแสงยูวีร่วมกัน เชื้อหมดลงภายใน 2 นาที ถ้าเทียบกับการใช้สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพียงอย่างเดียวที่ความเข้มข้นเดียวกัน การพ่นละอองลอยด้วยความเข้มข้นของสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพียง 1 เปอร์เซ็นประยุกต์ใช้ร่วมกับอีก 2 วิธี ดังนั้นเป็นไปได้ชัดว่าเพียงแค่ใช้ความสามารถของสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพียงนิดเดียว เพื่อลดการตกค้างของสารเคมีและลดความเป็นพิษ เพราะอนุมูลอิสระที่ไม่เสถียรสามารถแตกตัวและหายไปได้อย่างรวดเร็ว | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | นวัตกรรมทางเทคโนโลยี | th_TH |
dc.subject | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย | th_TH |
dc.title | การพัฒนานวัตกรรมโถปัสสาวะชายปลอดเชื้อโรค ปราศจากกลิ่น ไม่ทำให้เกิดการกระจายคราบปัสสาวะและเกิดภาระในบ่อบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงานอาหาร สถานพยาบาลและสถานพักฟื้นผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.title.alternative | Innovative design of ultra clean, pathogen-free, wastewater-free urinal with no foul odor and urine splash for food industry, healthcare and nursing home of Thailand’s aging society | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | anat@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | aluck@eng.buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The wastewater-free urinal consist of high-energy ultrasonic waves generated by piezoelectric transducers that have been used to produce a fog containing hydroxyl radicals. Different AOP techniques have generated the radicals. The dispersal of this highly oxidizing mist of micron-size droplets destroyed Escherichia coli/coliform and Aspergillus niger colonies that have been artificially spiked on surfaces. The wastewater-free urinal was tested the efficiency by using the AOPs employed include H2O2 (1, 3, and 5% w/w), O3 (7 g/h ozone tube at 2 L/min of O2 flowrate) and UV (4 units at 15 W each with the total fluence of 2.88 kJ/m2). The individual and combined effects of these AOPs set the hydroxyl radicals generated and consequently the degree of microbial destruction. Both ozonated water and UV alone were ineffective. The H2O2 mist produced some E. coli/coliform inactivation graded with concentration. A. niger was more susceptible to H2O2 mist than E. coli/coliform. Photocatalyzing with UV light did not significantly improve the E. coli/coliform inactivation with the H2O2 mist. However, substantial inactivation of A. niger was achieved with 1% H2O2 concentration; total annihilation of A. niger with a 10-min fumigation of H2O2 only, but with addition of UV photocatalysis a 2-min fumigaiton was adequate. This result illustrates that UV activation of H2O2 mists generates powerful oxidation of hydroxyl free radicals. Ozonation of H2O2 mists most improved its efficacy for E. coli/coliform inactivation compared to the other methods. Ozonated 5% H2O2 mists applied for 8 min was able to completely destroy E. coli/coliform. Ozonation also enhanced the destruction of A. niger. When hydroxyl radical UV and ozonation activations were combined, the reduction of E. coli/coliform was accelerated at all concentrations of H2O2. A 4-fold reduction in fumigation time was still effective for bacterial disinfection (the more difficult situation between the two). At 5% H2O2 treatment, the fumigation time was reduced from 8 to less than 2 min. The application of combined O3 and UV treatment totally disinfected both bacteria and mold with just 1% H2O2 mist. Hence, it is possible to use a minimal H2O2 concentration making residual chemical from this combined scheme minimally toxic due to rapid disappearance of the highly unstable free radicals. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_159.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น