กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3988
ชื่อเรื่อง: โครงการการพัฒนาแบบจำลองเพื่อคาดการณ์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำในระบบลุ่มน้ำ ของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Simulation Models for Prediction of Effect of Changing land use on Water Quality of the River Basin System in Eastern Economic Corridor (EEC)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษนัยน์ เจริญจิตร
จันทิมา ปิยะพงษ์
ปัทมา พอดี
ปรีชา บุญขาว
Marco Ciolli
Clara Tattoni
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
คำสำคัญ: เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
คุณภาพน้ำ
การบริหารจัดการน้ำ
การพัฒนาเศรษฐกิจ -- ไทย (ภาคตะวันออก)
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการการพัฒนาแบบจำลองเพื่อคาดการ์ณผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำในระบบลุ่มน้ำของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อจำแนกและคาดการณ์การใช้ที่ดินในลุ่มน้ำเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ 2) เพื่อสร้างแบบจำลองและคาดการณ์คุณภาพน้ำผิวดินจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยใช้การรับรู้จากระยะไกลในลุ่มน้ำเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกถูกใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม รองลงมาเป็นพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่อยู่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่เบ็ดเตล็ด และพื้นที่แหล่งน้ำ ตามลำดับ โดยในช่วงปี พ.ศ.2550-2555 เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งส่งผลให้พื้นที่ป่า และพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีขนาดลงลง และถูกแทนที่ด้วยพื้นที่แหล่งน้ำที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของบ่อน้ำสำหรับไว้ใช้ในการเกษตรและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ส่วนช่วงพ.ศ. 2555-2560 พบว่า พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ป่าไม้มีขนาดลดลงในขณะที่พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีขนาดเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของพื้นที่อุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออก ในขณะที่ข้อมูลการคาดการณ์การใช้ที่ดินในอนาคต พ.ศ.2580 สะท้อนให้เห็นว่า พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่แหล่งน้ำมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่พื้นที่เบ็ดเตล็ด และพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ สถานการณ์การลดลงของพื้นที่ป่าไม้และการเพิ่มขึ้นของพื้นที่อุตสาหกรรม ส่งผลให้ปริมาณขององค์ประกอบสมดุลน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลง รวมถึงปริมาณน้ำท่าทั้งรายเดือนและรายปีมีแนวโน้มลดลง สำหรับการคาดการณ์คุณภาพน้ำผิวดินในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ผู้วิจัยได้แบ่งลุ่มน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกออกเป็น 3 ลุ่มน้ำ คือลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำสาขาคลองใหญ่ และลุ่มน้ำสาขาประแสร์ และทำการคาดการณคุณภาพน้ำผิวดินด้วยแบบจำลองทางอุทกวิทยา (Soil and Water Assessment Tool: SWAT) และนำเข้าข้อมูลการใช้ที่ดิน พ.ศ. 2550 และ 2560 สำหรับสอบเทียบและตรวจพิสูจน์แบบจำลอง โดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ำท่ารายวันจากสถานีตรวจวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งคือสถานี KGT.3 สำหรับลุ่มน้ำบางปะกง, สถานี Z.62 สำหรับลุ่มน้ำสาขาคลองใหญ่ และสถานี Z.11 สำหรับลุ่มน้ำสาขาประแสร์จากการสอบเทียบและการตรวจพิสูจน์แบบจำลอง พบว่า แบบจำลอง SWAT ให้ผล การจำลองปริมาณน้ำท่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือ โดยพิจารณาความถูกต้องของแบบจำลองจากค่า สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) และค่า Nash-Sutcliffe Efficiency (NSE) โดยผลการจำลองปริมาณ น้ำท่า ณ สถานี KGT.3 Z.62 และ Z.11 ให้ค่า R2 และค่า NSE อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ทางสถิติ และ สำหรับการคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าจากการใช้ที่ดินในปี พ.ศ. 2580 พบว่า ปริมาณน้ำท่ามีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรม เป็นที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างมากขึ้น ซึ่งมีผล มาจากความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่า เมื่อพื้นที่ ป่าไม้ลดลง ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่าเพิ่มมากขึ้น และถ้าพื้นที่ป่าไม้เพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้ปริมาณน้ำท่า ลดลง โดยผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำเขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออกภายใต้การเลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการใช้ที่ดินในอนาคต เพื่อใช้ เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในอนาคตต่อไป
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3988
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_155.pdf9.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น