กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3923
ชื่อเรื่อง: | การซ่อมแซมข้อต่อคาน-เสาคอนกรีตเสริมเหล็กของเสาต้นริมที่ก่อสร้างในประเทศไทยเมื่อรับแรงแผ่นดินไหวด้วยแผ่นไฟเบอร์ใยแก้ว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Repair of Exterior Reinforced Concrete Building Joints Constructed in Thailand under Earthquake Load using GFRP |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อานนท์ วงษ์แก้ว มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คานคอนกรีต เสาคอนกรีต สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประยุกต์ใช้แผ่นไฟเบอร์เสริมเสริมกำลังในการซ่อมแซมข้อต่อคาน-เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) ของเสาต้นริมที่เสียหายเนื่องจากแรงแผ่นดินไหว ด้วยการทดสอบตัวอย่างข้อต่อคาน-เสา ค.ส.ล.ขนาดใหญ่เท่าขนาดจริงในห้องปฏิบัติการ โดยมุ่งเน้นไปที่ข้อต่อของเสาต้นริม ที่ถูกออกแบบและมีรายละเอียดการเสริมเหล็กของคานและเสาเพื่อรับแรงในแนวดิ่งเท่านั้น นอกจากนั้นข้อต่อเหล่านี้ยังถูกก่อสร้างและมีการเสริมเหล็กในข้อต่อตามมาตรฐานการก่อสร้างในประเทศไทย ตัวอย่างข้อต่อที่ไม่ได้พันด้วยแผ่นไฟเบอร์ (J1 และJ6) และที่พันด้วยแผ่นไฟเบอร์ (J1R และJ6R) จากการทดสอบพบว่า Hysteretic Loop ของตัวอย่าง J1R ที่พันด้วยแผ่นไฟเบอร์มีขนาดใหญ่กว่าตัวอย่าง J1 ที่ไม่ได้พันด้วยแผ่นไฟเบอร์ แสดงให้เห็นว่าแผ่นไฟเบอร์ช่วยในการสลายพลังงาน อย่างไรก็ตาม Hysteretic Loop ของตัวอย่าง J6R ที่พันด้วยแผ่นไฟเบอร์กลับมีขนาดเล็กกว่าตัวอย่าง J6 ที่ไม่ได้พันด้วยแผ่นไฟเบอร์ แสดงว่าแผ่นไฟเบอร์ไม่ได้ช่วยในการสลายพลังงานสำหรับตัวอย่างชุด J6 เมื่อพิจารณาจากขนาดของตัวอย่างทดสอบพบว่าตัวอย่างชุด J1 มีขนาดคานและเสาเล็กกว่าตัวอย่างชุด J6 ดังนั้นเมื่อพันแผ่นไฟเบอร์ด้วยจำนวนชั้นที่เท่ากัน แผ่นไฟเบอร์จึงขาดประสิทธิภาพในการเพิ่มความสามารถการรับแรงของข้อต่อในช่วงระยะเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่าง 0-20 มม. ตัวอย่าง J1R มีการลดลงของค่าความแข็งเกร็งอย่างรวดเร็วและในอัตราที่มากกว่า J1 อย่างไรก็ตามสำหรับตัวอย่าง J6 มีการลดลงของค่าความแข็งเกร็งอย่างรวดเร็วและในอัตราที่มากกว่า J6R ส่วนในช่วงการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่าง 20-120 มม. นั้นตัวอย่างที่ไม่พันแผ่นไฟเบอร์ (J1 J6) และตัวอย่างที่พันแผ่นไฟเบอร์ (J1R J6R) มีค่าความเสื่อมถอยของความแข็งเกร็งใกล้เคียงกัน รูปแบบการวิบัติของตัวอย่างที่ไม่พันด้วยแผ่นไฟเบอร์ J1 และ J6 เกิดการอัดแตกของคอนกรีตที่บริเวณข้อต่อเนื่องจากแรงเฉือน (Joint Shear) ส่วนตัวอย่าง J1R และ J6R ที่พันด้วยแผ่นไฟเบอร์นั้น การพังเกิดจากการฉีกขาดของแผ่นไฟเบอร์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3923 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_066.pdf | 4.87 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น