กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3902
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาชุดโคมไฟแอลอีดีสำหรับรักษาทารกตัวเหลืองด้วยระบบสมองกลฝังตัว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of LED Phototherapy for Neonatal Jaundice with Embedded System |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นรรัตน์ วัฒนมงคล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ ระบบสื่อสาร ระบบสมองกล สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ปัจจุบันโรงพยาบาลในประเทศไทยหลายแห่งได้นำเอาโคมไฟแอลอลีดีมาใช้ในการรักษาภาวะตัว เหลืองในทารกแรกเกิด แต่เนื่องจากโคมไฟนี้นำเข้ามาจากต่างประเทศจึงมีราคาสูงถึงหลักแสนบาท รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูง และหากเครื่องเกิดการชำรุดเสียหายต้องใช้เวลารอรับบริการนาน ส่งผลให้โรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทยขาดแคลนเครื่องมือชิ้นนี้อยู่เป็นจำนวนมาก และเกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของคนไทยด้วย คณะผู้วิจัยจึงได้นำเสนอการพัฒนาชุดโคมไฟแอลอีดีสำหรับรักษาทารกตัวเหลืองด้วยระบบสมองกลฝังตัวที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำและมีประสิทธิภาพในการรักษาเทียบเท่ากับโคมไฟแอลอีดีที่นำเข้าจากต่างประเทศโคมไฟแอลอีดีที่พัฒนาขึ้นใช้แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 12 โวลต์ ผ่านตัวแปลงไฟฟ้ากระแสสลับแรงดัน 220 โวลต์ ใช้กำลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 54 วัตต์ สามารถควบคุมการทำงานแบบไร้สายได้ นอกจากนั้นยังมีหน้าจอแสดงค่าความเข้มแสงเชิงสเปกตรัม อุณหภูมิภายในโคมไฟ เวลาการใช้งานสะสมของหลอดแอลอีดีวันและเวลาในปัจจุบัน โคมไฟนี้ได้ผ่านการรับมาตรฐานจากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ให้ค่าความเข้มแสงเชิงสเปกตรัมสูงสุดเท่ากับ 87.0 ± 3.1 uw/cm2/nm ที่ระยะห่างจากตัวโคมไฟ 30 เซนติเมตร ที่มีค่าความยาวคลื่นเท่ากับ 456.15 ± 0.3 นาโนเมตร ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาทางการแพทย์สากล โครงการวิจัยได้นำโคมไฟแอลอีดีที่พัฒนาขึ้นไปทดสอบรักษาทารกตัวเหลืองจำนวน 50 เคส ณ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี แล้วนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับผลการรักษาของโคมไฟแอลอีดียี่ห้อ Fanem รุ่น Bilitron 3006 ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศและนิยมนำมาใช้งานในโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทย ผลการทดสอบพบว่าอัตราการลดลงของบิลิรูบิน (ซึ่งเป็นพารามิเตอร์หลักในการประเมิน ประสิทธิภาพการรักษา) มีค่าสูงกว่า อย่างไรก็ตาม พารามิเตอร์บางตัวอาจบ่งชี้ถึงสาเหตุได้ไม่ชัดเจนเพราะมีปัจจัยอื่น ๆ มาเกี่ยวข้อง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3902 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_053.pdf | 8.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น