กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3896
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ทวีชัย สำราญวานิช | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-04-21T13:46:22Z | |
dc.date.available | 2020-04-21T13:46:22Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3896 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลจากโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จต่อความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีต โดยใช้อัตราส่วนมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลต่อมวลรวมหยาบธรรมชาติ ที่ร้อยละ 10, 25, 50 และ 100 อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ 0.40, 0.50 และ 0.60 อัตราส่วนเถ้าลอยต่อวัสดุประสานที่ 0.30 และอัตราส่วนผงหินปูน ต่อวัสดุประสานที่ 0.10 สำหรับทดสอบการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งและทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตที่ระยะเวลาบ่มน้ำ 28, 56 และ 91 วันการทดสอบแทรกซึมคลอไรด์แบบแช่ของคอนกรีตภายหลังระยะเวลาบ่มน้ำ 28 วันและเผชิญสารละลายคลอไรด์ 3.0% เป็นเวลา 28, 56 และ 91 วัน สำหรับทดสอบกำลังอัดคอนกรีตที่ระยะเวลาบ่มน้ำ 28, 56 และ 91 วัน จากผลการทดลองพบว่า เมื่อใช้อัตราส่วนมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลต่อมวลรวมหยาบสูงขึ้นส่งผลให้ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีตต่ำลง คอนกรีตที่ใช้มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลและใช้เถ้าลอยแทนที่บางส่วนของปูนซีเมนต์มีความต้านการแทรกซึมคลอไรด์สูงกว่าคอนกรีตที่ใช้มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลที่ไม่ใช้เถ้าลอย กำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลและใช้เถ้าลอยมีค่าสูงกว่าคอนกรีตที่ใช้มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลที่ไม่ใช้เถ้าลอยอย่างเห็นได้ชัดที่อายุ 91 วัน คอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยและผงหินปูนแทนที่บางส่วนของปูนซีเมนต์มีกำลังอัดและความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ต่ำกว่าคอนกรีตที่ใช้เถ้าลอย จากความสัมพันธ์ของกำลังอัด ปริมาณประจุไฟฟ้าที่ไหลผ่านคอนกรีตและสัมประสิทธิ์ การแพร่คลอไรด์สามารถนำมาหาส่วนผสมคอนกรีตที่มีความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดที่ดีได้ จากการเปรียบเทียบคอนกรีตที่ใช้มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลจากคอนกรีตผสมเสร็จและมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลจากคอนกรีตสำเร็จรูปพบว่า ที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานต่ำและอัตราส่วนมวลรวมรีไซเคิลคอนกรีตต่อมวลรวมหยาบต่ำและใช้เถ้าลอยและผงหินปูนแทนที่วัสดุประสานคอนกรีตมีกำลังอัดและความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ใกล้เคียง | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | คอนกรีตผสมขี้เถ้าลอย -- การกัดกร่อน | th_TH |
dc.subject | คลอไรด์ -- ผลกระทบต่อโครงสร้างคอนกรีต | th_TH |
dc.subject | วัสดุทดแทนปูนซีเมนต์ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย | th_TH |
dc.title | การใช้เถ้าลอยเพื่อปรับปรุงกำลังอัดและความต้านทานคลอไรด์ของคอนกรีตที่ใช้มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลจากโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ | th_TH |
dc.title.alternative | The use of fly ash for improving compressive strength and chloride resistance of concrete containing recycled concrete aggregate from ready-mixed concrete plant | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | twc@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2562 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research aims to study effective of recycled concrete aggregate from ready-mixed concrete plant (RAB) on the chloride resistance and compressive strength of concrete. The RAB was used as coarse aggregate replacement materials at the replacement percentages of 10%, 25%, 50% and 100 %. The water to binder ratios of 0.40, 0.50 and 0.60 were used. Fly ash and limestone powder were used as binder replacement materials at the ratios of 0.30 and 0.10, respectively. The rapid chloride penetration and compressive strength tests were performed after water curing for 28, 56 and 91 days. Bulk chloride diffusion tests of concrete were done after 28- day water curing and submerged in 3.0% chloride solution for 28, 56 and 91 days. From the experimental results, it was found that the increase of RAB to coarse aggregate ratio results in lower chloride penetration resistance and compressive strength. Concrete with RAB and fly ash replacement of binder has higher chloride penetration resistance than that without fly ash. Concrete with RAB and fly ash replacement of binder has higher compressive strength than that without fly ash at 91-days age. Whereas, concrete with fly ash and limestone has lower compressive strength and chloride penetration resistance than that with fly ash only. From the relationship of compressive strength and charge passed and chloride diffusion coefficient of concrete, the mix proportion of concrete with good chloride penetration resistance and compressive strength can be determined. From the comparison between concrete with recycled concrete from precast concrete and concrete with recycled concrete aggregate from ready-mixed concrete, it was found that the similar compressive strength and chloride penetration resistance can be achieved when low water to binder ratio and low coarse aggregate replacement by recycled concrete aggregate are used. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_039.pdf | 60.42 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น