กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3888
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อทรัพยากรน้ำ เมืองและการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ภาคตะวันออกด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis of Climate Change Impacts on Water Resource, Urban, and Human Settlements in Eastern Thailand: Geo-Informatics Approach for Climate Change Studies |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัทราพร สร้อยทอง กรรณิการ์ จันทร์ชิดฟ้า สุชาติ ชายหาด นราธิป เพ่งพิศ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ทรัพยากรน้ำ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ภูมิสารสนเทศศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะสภาพภูมิอากาศ โดยพิจารณาถึงปัจจัยปริมาณ และความต้องการใช้น้ำของทุกภาคส่วน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อความเปราะบางของเมืองในภาค ตะวันออก การศึกษานี้การเปรียบเทียบให้เห็นถึงความเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ ที่ดินและลักษณะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อทรัพยากรน้ำในภาคตะวันออก โดย ประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมรายละเอียดสูงในพื้นที่ภาคตะวันออก ผลการวิจัยพบว่า สถิติช่วงปี 2550 ถึง 2560 แสดงให้เห็นว่าการใช้ที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการลดลงของพื้นที่เกษตรกรรม (62.21 % เป็น 61.59 %) พื้นที่เมืองและสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้น (6.01 % เป็น 7.62%) การเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินส่งผลต่ออุณหภูมิพื้นผิวและทรัพยากรน้ำและปริมาณน้ำฝน โดยจากสถิต อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงปี 2554 และ 2560 คือ 28.51°C และ 29.27°C ตามลำดับ อย่างไรก็อุณหภูมิที่ สูงขึ้นในเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม จุดร้อนสูงสุดที่วัดได้อยู่ระหว่าง 38.1-56 °C ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงกลางเดือนเมษายนในบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเท่านั้น โดยส่วนมากจะเป็น พื้นที่เมืองและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะพื้นที่เมือง 6 พื้นที่ คือ พื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี (41.3°C) และ พื้นที่อำเภอเมือง (40.8°C) จังหวัดปราจีนบุรี พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (38.72°C) พื้นที่อำเภอ เมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา (39.68°C) พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (38.73°C) และพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี (37.63°C) ลักษณะของอากาศร้อนที่สุดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของพื้นที่ที่เป็นเมืองนี้ เป็นผลจากการที่เขตเมืองมีอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อเทียบกับพื้นที่การเกษตรโดยรอบ จากการที่ภาค ตะวันออกของไทยจึงต้องเผชิญกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมืองและอุตสาหกรรมในช่วงมากกว่า สี่ทศวรรษที่ผ่านมา ในอีกด้านหนึ่งพื้นที่ที่เป็นเมืองจึงเป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางและความเสี่ยงต่อ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่าพื้นที่ชนบท เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่าง จำนวนประชากร ซึ่งพื้นที่เมืองเป็นพื้นที่รวมตัวขนาดใหญ่ของประชากร การจัดการเมืองเพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายต่อภาคส่วนต่าง ๆ ทิศทางการพัฒนาของเมือง มีความสำคัญต่อการฟื้นฟูภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3888 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_037.pdf | 6.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น