กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3881
ชื่อเรื่อง: การออกแบบคันดินเพื่อป้องกันการรุกล้ำของน้ำทะเล และน้ำท่วมชายฝั่งบริเวณพื้นที่ตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Design of Dikes for protection of saltwater intrusion and coastal flooding in Tambon Tammalang, Amphoe Mueang, Satun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชาญยุทธ กาฬกาญจน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ดินซีเมนต์
ดินเหนียวอินทรีย์
คันดิน
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปัญหาน้ำท่วมชายฝั่งพบได้บริเวณพื้นที่ริมชายฝั่งทะเลและบริเวณปากแม่น้ำ ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว คือ น้ำทะเลหนุน แผ่นดินทรุดตัว แผ่นดินถูกน้ำฝนและน้ำที่กัดเซาะ หรือน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น การใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ในบางพื้นที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืช หรืออยู่อาศัยได้ เช่น พื้นที่บริเวณตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งได้ถูกเลือกมาเป็นพื้นที่ศึกษาของโครงการนี้ วิธีการศึกษาประกอบด้วย การทดสอบหาคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมของตัวอย่างดิน การปรับปรุงคุณภาพของดินในพื้นที่เพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้างเพื่อลดราคาค่าก่อสร้าง วิธีการปรับปรุงคุณภาพดิน คือ การผสมดินในพื้นที่กับปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 ด้วยสัดส่วน 0 2 5 8 และ 10% ของน้ำหนักดินแห้ง ปริมาณน้ำที่ใช้ในการผสมตัวอย่าง ได้จากปริมาณค่าความชื้นที่เหมาะสมของการทดสอบการบดอัดแบบมาตรฐานของแต่ละอัตราส่วนผสมดินซีเมนต์ วิธีการทดสอบการอัดตัวคายน้ำ และการทดสอบการอัดตัวแบบอิสระถูกนำมาใช้เพื่อประเมินคุณสมบัติด้านวิศวกรรมของดินซีเมนต์ ที่ระยะเวลาการบ่ม 0 7 และ 28 วัน จากตัวอย่างดินเหนียวที่นำมาจากพื้นที่ศึกษา พบว่า เป็นดินเหนียวอินทรีย์ชนิด Clay of low plasticity (CL) และ Clay of high plasticity (CH) ตาม Unified soil classification system จากผลการทดสอบ พบว่า อัตราส่วนของดินและปูนซีเมนต์ที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำทะเล คือ ดินเหนียว CL ผสมปูนซีเมนต์ที่อัตราส่วน 2% ที่อายุการบ่ม 0 วัน และดินเหนียว CH ผสมปูนซีเมนต์ที่อัตราส่วน 5% ที่อายุการบ่ม 7 วัน เนื่องจากปริมาณดังกล่าวเป็นอัตราส่วนผสมที่น้อยที่สุดที่ทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านได้มีค่าน้อยกว่า 10-8 เมตร/วินาที และยังมีกำลังรับแรงเฉือนที่เพียงพอในการนำไปใช้ก่อสร้างคันดินกั้นน้ำทะเล นอกจากนี้ อัตราส่วนดินซีเมนต์ที่เหมาะสมถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาเสถียรภาพของลาดดิน ปริมาณการไหลซึมของน้ำทะเลผ่านคันดิน และค่าความเค็มของน้ำที่ไหลซึมผ่านคันดินโดยใช้โปรแกรม GeoStudio 2007 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ดินเหนียวในพื้นที่ซึ่งผสมปูนซีเมนต์สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างคันดินได้ และที่อัตราส่วนผสมนี้ ค่าความเค็มของน้ำทะเลที่ไหลซึมผ่านคันดินและฐานราก มีค่าน้อยกว่า 10 กก./ลบ.ม. (10 ppt) ดังนั้น เพื่อเป็นการลดค่าวัสดุก่อสร้าง การใช้ดินในพื้นที่ผสมกับปูนซีเมนต์สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างของคันดินได้ และคันดินสามารถป้องกันพื้นที่จากความเค็มของน้ำทะเลได้ ซึ่งส่งผลให้พื้นที่ด้านหลังคันดินสามารถนำมาใช้ทำการเกษตรได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3881
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_030.pdf7.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น