กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3875
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์เพื่อระบุแหล่งไพลินจากไทย ศรีลังกา ไนจีเรีย และมาดากัสการ์
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นันทรัตน์ บุนนาค
อัครเดช ฐิศุภกร
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
คำสำคัญ: อัญมณี
ไพลิน
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: ไพลินนั้นเป็นชื่อทางอัญมณีของแร่คอรันดัมที่มีสีน้ำเงินมีแหล่งกำเนิดได้หลายแบบ ชนิดของหินต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน แสดงความสัมพันธ์กับองค์ประกอบทางเคมีของไพลินที่เป็นธาตุร่องรอยรวมถึงมลทินภายในที่เป็นแร่มลทินด้วย ดังนั้นการหาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วน Fe/Ti กับ Cr/Ga จึงถูกนำมาใช้ในการจำแนกแหล่งพลอย ดังนั้นการใช้ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนดังกล่าว ประกอบกับมลทินแร่ที่พบในไพลินจึงน่าจะสามารถใช้จำแนกไพลินจากไทย ศรีลังกา ไนจีเรีย และมาดากัสการ์ได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีในการจำแนกไพลินจากประเทศไทย ศรีลังกา มาดากัสการ์ และไนจีเรียเนื่องจากในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีทั่วไปในประเทศไทยไม่มีเครื่องมือที่ผลงาน ศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารเชิงวิชาการใช้ในการจ้าแนกแหล่งอัญมณี มลทินภายใน (inclusion) ที่สามารถใช้เป็นข้อบ่งชี้ในการจำแนกแหล่งได้ ได้แก่ มลทินเส้น ไหมสีน้ำตาลแดงที่มักพบเป็นลักษณะแผ่นแบนพบในตัวอย่างไพลินจากบางกะจะ มลทินลักษณะ แกนกลางสีเหลืองพบได้ในตัวอย่างจากดิเอโก การวัดองค์ประกอบทางเคมีด้วย EDXRF พบว่าปริมาณ Cr2O3 วัดได้ค่าต่ำกว่าขอบเขตของเครื่องมือ เมื่อนำมาหาค่าความสัมพันธ์ในสัดส่วน Cr/Ga จึงมีค่าเป็น 0 จึงหาค่าความสัมพันธ์ Fe2O3/TiO2 พบว่าไพลินจากบางกะจะมีค่าสูงกว่าไพลินจากแหล่งอื่นที่ศึกษา และไพลินจากแหล่งศรีลังกามีค่าสัดส่วน Fe2O3/TiO2 น้อยที่สุดสอดคล้องกับลักษณะของแหล่งกำเนิด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3875
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_022.pdf8.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น