กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3854
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการศึกษาดัชนีพืชพรรณและความชื้นในการวิเคราะห์ความแห้งแล้งในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Application of Geo-Informatics Technology for The Vegetation Index and Humidity Study: A Case Study Analysis of Drought in The Special Economic Eastern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิชิตพร ผลเกิดดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
คำสำคัญ: ภูมิสารสนเทศ
เขตเศรษฐกิจพิเศษ
ดัชนีพืชพรรณ
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาดัชนีพืชพรรณและความชื้นจากภาพถ่าย ดาวเทียม Terra / MODIS 2) ศึกษาดัชนีพืชพรรณและความชื้นประเมินพื้นที่ที่เกิดความแห้งแล้งเชิง พื้นที่และเวลา ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 3) จำแนกระดับความรุนแรงของความแห้งแล้ง จากการวิเคราะห์ดัชนีพืชพรรณและความชื้น ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 4) ศึกษา แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาความแห้งแล้งอย่างยั่งยืน ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาค ตะวันออก วิธีการศึกษาครั้งนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำดัชนีพืชพรรณและความชื้น มาใช้ประเมินความแห้งแล้งบริเวณพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจาก ดาวเทียมเพื่อตรวจสอบความแห้งแล้งจะศึกษาคลอโรฟิลด์ในใบพืชที่มีการเปลี่ยนแปลงตอบสนองต่อ การขาดแคลนน้ำ ปรากฏในภาพถ่ายเป็นค่าการสะท้อนที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันในเดือนที่มีน้ำ เดือนที่ขาดน้ำ ดัชนีเชิงคลื่นที่นำมาใช้วิเคราะห์ในครั้งนี้เป็นดัชนีที่ตอบสนองต่อคลอโรฟิลด์ในใบพืช ปริมาณน้ำในพืชและในดิน ได้แก่ ดัชนีผลต่างพืชพรรณ (NDVI) ดัชนีผลต่างความชื้น (NDWI) และ ดัชนีเน้นภาพพืชพรรณ (EVI) จากนั้นทำการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงในพืชพรรณระหว่างฤดูกาล และระหว่างปี ต่อมาทำการวิเคราะห์เพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่โดยอาศัยพื้นฐานจาก ความเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีระหว่างคู่ภาพต่างวัน และหามาตราการแนวทางในการเตรียมตัวรับมือ กับปัญหาความแห้งแล้งอย่างยั่งยืน ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผลการศึกษาพบว่าความเปลี่ยนแปลงของพืชพรรณที่ปกคลุมที่แตกต่างกัน สามารถชี้ถึง รูปแบบเชิงพื้นที่และเวลาของความแห้งแล้งได้ แสดงให้เห็นค่าความแตกต่างของ NDVI(dNDVI) ความแตกต่างของNDWI(dNDWI) และความแตกต่างของ EVI(dEVI) ของภาพถ่ายต่างวันที่มีการ แสดงออกมาอย่างเด่นชัด ภาพผลต่าง NDVI และ EVI (dNDVI และ dEVI) บ่งบอกความแตกต่าง ระหว่างพื้นที่ของพืชพรรณที่ปกคลุม ค่า dNDVI และ dEVI ที่สูงกว่าหมายถึงระดับของความ เปลี่ยนแปลงที่สูงกว่า ค่า dNDWI แสดงความแตกต่างที่เกี่ยวข้องกับการผสมผสานระหว่างพืชพรรณ ที่ปกคลุมกับปริมาณน้ำในพื้นที่ จากนั้นจัดทำแผนที่จำแนกระดับความรุนแรงของความแห้งแล้งโดย รูปแบบเชิงพื้นที่และเวลาของความแห้งแล้ง สามารถบอกได้จากค่า dNDWI ประกอบกับ dNDVI และ dEVI แทนที่การใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาหรือในกรณีที่ข้อมูลด้านภูมิอากาศมีเพียงพอหรือไม่ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณนั้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3854
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_332.pdf8.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น