กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/384
ชื่อเรื่อง: | นวัตกรรมการขึ้นรูปเครื่องประดับเงินที่มีความซับซ้อนจากนาโนซิลเวอร์เคลย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Innovation for fabrication of complex shape silver jewelry from nano-silver clay |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิมพ์ทอง ทองนพคุณ เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์ ทวีศักดิ์ จันทร์ดวง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี |
คำสำคัญ: | นาโนซิลเวอร์เคลย์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช เครื่องประดับ เครื่องเงิน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี |
บทคัดย่อ: | ผลงานวิจัยของโครงการต่อเนื่องในปีที่ 2 นี้ นำเสนอการผลิตเครื่องประดับจากนาโนซิลเวอร์เคลย์ ในรูปแบบที่หลากหลาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวัสดุรูปแบบใหม่ เทคนิคการผลิตและต้นแบบเครื่องประดับจากนาโนซิลเวอร์เคลย์ เพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมชุมชนและอุตสาหกรรมเคื่องประดับของไทย นาโนซิลเวอร์เคลย์ที่นำมาทำเครื่องประดับนี้ผลิตขึ้นจากคณะนักวิจัยในโครงการ โดยนำผงเงินขนาดอนุภาคระดับนาโนเมตร-ไมโครเมตร ผสมกับตัวประสานอินทรีย์เพื่อผลิตเป็นนาโนซิลเวอร์เคลย์สูตรใหม่ที่ง่ายต่อการปั้นยิ่งขึ้น มีความแข็งแรงสูง และร้อยละการหดตัวของชิ้นงานต่ำกว่านาโนซิลเวอร์เคลย์ของงานวิจัยในปีแรก สภาวะที่เหมาะสมในการเผานาโนซิลเวอร์เคลย์สูตรนี้ ได้แก่ อุณหภูมิ 600-900 องศาเซลเซียส อัตราเร่ง 10 องศาเซลเซียสต่อนาที เวลาในการยืนไฟ 30 นาทีขึ้นไป งานวิจัยในปีนี้นอกจากทำการสังเคราะห์อนุภาคผงโลหะเงินเพื่อผลิตนาโนซิลเวอร์เคลย์แล้ว นักวิจัยได้สังเคราะห์อนุภาคทองคำที่มความบางระดับนาโนเมตร ความกว้างอนุภาคระดับไมครอน เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตโกลด์เคลย์และตกแต่งเครื่องประดับซิลเวอร์เคลย์โดยทำการศึกษาอิทธิพลของสารตั้งต้นที่ใช้ในการสังเคราะห์ และอิทธิพลของตัวประสานที่นำมาใช้ผลิตโกลด์เคลย์ รวมถึงศึกษากระบวนการเผาร่วมกันกับเครื่องประดับซิลเวอร์เคลย์ อีกทั้งศึกษาเทคนิคการขึ้นรูปที่หลากหลายให้เหมาะสมกับวัสดุที่จะนำมาประกอบเป็นเครื่องประดับ รูปแบบการทำเครื่องประดับที่พัฒนาขึ้นในโครงการวิจัยปีนี้ ได้แก่ การทำเครื่องประดับซิลเวอร์เคลย์ร่วมกับเซรามิกส์โกลด์เคลย์ อนุภาคผงทอง และแก้ว โดยทำการศึกษาการเผาซิลเวอร์เคลย์และแก้วด้วยเตาไมโครเวฟสำหรับใช้ในครัวเรือน เพื่อให้ง่ายในการนำไปใช้ต่อยอดในอุตสาหกรรมชุมชนอีกด้วย งานวิจัยในปีนี้ประสบความสำเร็จในการทำเครื่องประดับจากซิลเวอร์เคลย์ร่วมกับวัสดุดังกล่าว โดยใช้สภาวะการเผาและเทคนิคการขึ้นรูปเครื่องประดับในรูปแบบที่แตกต่างกัน กระบวนการและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการสามารถนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมในครัวเรือน และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่อไปได้ในอนาคต |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/384 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น