กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3824
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการผลิตลูกพันธุ์หอยนางรมบริเวณแม่น้ำพังราด จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between Environmental Factor on Larvae Oyster Production at Phang Rat River, Rayong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล
ชลี ไพบูลย์กิจกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
หอยนางรม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตลูกหอยนางรมบริเวณแม่น้ำพังราด จังหวัดระยอง ระยะเวลาในการศึกษาวิจัยทั้งสิ้น 12 เดือน โดยทำการเก็บตัวอย่าง 3 ครั้ง เป็นตัวแทนแต่ละฤดูกาล ได้แก่ ฤดูหนาว (ธันวาคม และกุมภาพันธ์) ฤดูร้อน (เมษายน และมิถุนายน) และฤดูฝน (สิงหาคม และตุลาคม) เก็บตัวอย่างน้าในช่วงเวลาน้ำขึ้น พารามิเตอร์ที่เก็บคือ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ ธาตุอาหาร (แอมโมเนีย ไนไตร์ท ไนเตรต ปริมาณฟอสเฟตละลายน้ำ และ ปริมาณซิลิเกตละลายน้ำ) ตะกอนแขวนลอย อุณหภูมิ ความเค็ม ค่าดีโอ พีเอช ความลึก ความโปร่งแสง เป็นต้น ในการเก็บตัวอย่างแต่ละครั้งระบุให้ตรงพิกัดโดยเครื่อง GPS เก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ โดยการตัก น้ำจากแต่ละสถานี ๆ ละประมาณ 50 ลิตร ลึกลงไปจากผิวน้าประมาณ 30 เซนติเมตร นำน้ำมากรองผ่านถุงแพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์ขนาด 21 และ 55 ไมครอน ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 49 สกุล โดยมาจาก 5 ดิวิชั่น ดังนี้ 1) Division Bacillariophyta จานวน 27 สกุล 2) Division Chlorophyta จานวน 9 สกุล 3) Division Dinophyta จำนวน 6 สกุล 4) Division Cyanophyta จำนวน 5 สกุล และ 5) Division จำนวน 2 สกุล โดยความ หนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชพบได้มากที่สุด และน้อยที่สุดในฤดูหนาว และ ฝน เท่ากับ 33,762,531 และ 6,985,740 Cell/L ตามลำดับ พบความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชว่ามีแนวโน้มมากขึ้นในบริเวณปากแม่น้ำ พังราดโดยในสถานีที่ 3 และ 4 เท่ากับ 32,582,897 และ 21,224,438 Cell/L ตามลำดับ ผลการศึกษา แนวโน้มสัดส่วนแพลงก์ตอนพืชที่พบจากการศึกษา พบว่าไฟลัม Bacillariophyta เป็นชนิดเด่นพบได้ใน สัดส่วนที่สูงตั้งแต่ร้อยละ 70 เป็นต้นไป รองลงมาตามลำดับได้แก่ ไฟลัม Chlorophyta Dinophyta Cyanophyta และ Chrysophyta ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของแพ ลกง์ตอนพืชกับออกซิเจนละลายน้ำมีค่าเท่ากับ 0.33 และ ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชกับความเค็มมีค่าเท่ากับ 0.42 ความหลากหลายแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณปากแม่น้าพังราด จังหวัดระยอง พบแพลงก์ตอนสัตว์ ทั้งหมด 9 Phylum 11 Class 12 Order 8 Family ดังนี้ 1) Phylum Protozoa 2) Phylum Cnidaria 3) Phylum Chaetognatha 4) Phylum Annelida 5) Phylum Arthropoda 6) Phylum Mollusca 7) Phylum Chordata 8) Phylum Echinodermata และ 9) Phylum Rotifer พบว่าฤดูฝน มีความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์มากที่สุด (217,560.8 Unit/L) และฤดูร้อนน้อยที่สุด (71,297.63 Unit/L) ตามลาดับ ซึ่งเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธี PCA พบว่าทั้ง 3 ฤดู พบแพลงก์ตอนสัตว์ได้ในความหนาแน่นที่มากในไฟลัม Arthropoda Mollusca Annelida และ Chordata ตามลาดับ ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ตามสถานี พบว่าเรียงลำดับจากสถานีที่พบในปริมาณมากไปหาน้อย ได้แก่ สถานีที่ 1 2 4 และ 3 เท่ากับ 24,8860.7 81,247.5 37,701.59 33,244.75 Unit/L ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นแอมโมเนียทั้ง 3 ฤดูกาลไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) โดยมี แนวโน้มพบว่า ความเข้มข้นแอมโมเนียเรียงลาดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ ฤดูฝน ฤดูร้อน และฤดูหนาว เท่ากับ 0.158 0.084 และ 0.083 mg-N/L ความเข้มข้นแอมโมเนียในแต่ละสถานีตลอดการศึกษาพบว่า ในสถานีที่ 2 มีค่าสูงมากที่สุด แต่ความเข้มข้นของไนไตร์ทและไนเตรทไม่แตกต่างกันทางสถิติ ทั้งในเชิงฤดูกาลและเชิงสถานี สำหรับความเข้มข้นของฟอสเฟตละลายน้ำพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) โดยความเข้มข้นของฟอสเฟตละลายน้ำเรียงจากความเข้มข้นมากไปหาน้อยได้แก่ ในฤดูฝน ร้อน และหนาว มีค่าเท่ากับ 0.025 ± 0.002 0.020 ± 0.004 และ 0.018 ± 0.002 mg-P/L ตามลำดับ หากพิจารณาความเข้มข้นเฉลี่ยของฟอสเฟตละลายน้ำในแต่ละสถานีตลอดการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) โดยความเข้มข้นที่มากที่สุดพบในสถานีที่ 2 เท่ากับ 0.021 ± 0.002 mg-P/L และ สถานีที่ความเข้มข้นน้อยที่สุดคือ สถานีที่ 3 เท่ากับ 0.017 ± 0.003 mg-P/L ตามลำดับความเข้มข้นเฉลี่ยของซิลิเกตละลายน้ำตามฤดูกาลพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) โดยความเข้มข้นของซิลิเกตละลายน้ำเรียงจากความเข้มข้นมากไปหาน้อยได้แก่ ในฤดูฝน ร้อน และหนาว มีค่าเท่ากับ 0.237 ± 0.018 0.201 ± 0.051 และ 0.187 ± 0.082 mg-Si/L ตามลำดับ หากพิจารณาความเข้มข้นเฉลี่ยของซิลิเกตละลายน้ำในแต่ละสถานีตลอดการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) โดยความเข้มข้นที่มากที่สุดพบในสถานีที่ 2 เท่ากับ 0.24 2± 0.052 mg-P/L และ สถานีที่ความเข้มข้นน้อยที่สุดคือ สถานีที่ 3 เท่ากับ 0.166 ± 0.067 mg-Si/L ตามลำดับ ปริมาณเฉลี่ยของตะกอนแขวนลอยในน้ำตามฤดูกาล พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P < 0.05) โดยมีปริมาณเฉลี่ยของตะกอนแขวนลอยในน้ำเรียงจากมากไปหาน้อยได้แก่ ฤดูฝน ร้อน และ หนาว เท่ากับ 0.117 ± 0.027 0.108 ± 0.011 และ 0.058 ± 0.007 mg/L ตามลำดับ หากพิจารณาปริมาณเฉลี่ยของตะกอนแขวนลอยใน น้าในแต่ละสถานีตลอดการศึกษาพบว่า ปริมาณไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) โดยความเข้มข้นที่มากที่สุดพบในสถานีที่ 1 เท่ากับ 0.112 ± 0.039 mg/L และ สถานีที่ความเข้มข้นน้อยที่สุดคือ สถานีที่ 3 เท่ากับ 0.082 ± 0.024 mg/L ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแอมโมเนียกับอุณหภูมิมีค่าเท่ากับ 0.47 ความสัมพันธ์ระหว่างแอมโมเนียกับออกซิเจนละลายน้ำมีค่าเท่ากับ -0.48 ความสัมพันธ์ระหว่างฟอสฟอรัสกับซิลิเกตมีค่าเท่ากับ 0.28 และ ความสัมพันธ์ระหว่างซิลิเกต และความเค็มมีค่าเท่ากับ 0.24
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3824
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_316.pdf5.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น