กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3822
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorธรรมนูญ รัศมีมาสเมือง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2020-03-30T13:55:30Z
dc.date.available2020-03-30T13:55:30Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3822
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพอุทกพลศาสตร์ ได้แก่ ระดับน้ำ คลื่น และกระแสน้ำ กับการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและอัตราการรอดตายของต้นกล้าของต้นไม้ป่าชายเลนที่นำไปปลูกในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจริง และเพื่ออธิบายในเชิงปริมาณเกี่ยวกับสภาพอุทกพลศาสตร์วิกฤตอันเนื่องมาจากแรงกระทำทางอุทกพลศาสตร์สะสมที่มีผลต่อการรอดตายของต้นกล้าป่าชายเลนต้นกล้าป่าชายเลน 2 ชนิด ได้แก่ ต้นโกงกางใบใหญ่และต้นโกงกางใบเล็ก จำนวนทั้งหมด 240 ต้น ถูกนำไปปลูกในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณสะพายเลียบชายฝั่งจังหวัดชลบุรี พร้อมทั้งมีการติดตั้งเครื่องวัดคลื่นและกระแสน้ำในบริเวณพื้นที่ศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่สนใจ ได้แก่ จำนวนใบ เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ความสูง และปริมาตรตัวแทนของต้นกล้า ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 2 เดือน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า สภาพทางอุทกพลศาสตร์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของต้นกล้าป่าชายเลนอย่างชัดเจน พื้นที่บริเวณที่สภาพทางอุทกพลศาสตร์รุนแรงกว่า คือ บริเวณพื้นที่โซนนอกฝั่ง ต้นกล้ามีการเติบโตมากกว่าเพื่อการเอาตัวรอด แต่ในขณะเดียวกันมีอัตราตายสูงกว่าเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างต้นกล้าใบใหญ่กับต้นโกงกางใบเล็ก พบว่า ต้นโกงกางใบเล็กมีการเติบโตที่รวดเร็วและมีอัตราการตายที่น้อยกว่า แสดงให้เห็นว่า ต้นโกงกางใบเล็กทนต่อสภาพทางอุทกพลศาสตร์ได้ดีกว่าต้นโกงกางใบใหญ่ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำทางอุทกพลศาสตร์สะสมกับอัตราการตาย พบว่า ทั้งสองตัวแปรมีความสัมพันธ์กันชัดเจนทั้งในต้นกล้าทั้งสองชนิด ความสัมพันธ์นี้สามารถช่วยในการประมาณสภาพทางอุทกพลศาสตร์วิกฤตต่อการตายของต้นกล้าที่ปลูกใหม่ได้ การหามาตรการช่วยป้องกันแรงกระทำเหล่านี้จะส่งเสริมให้อัตราการรอดตายของต้นกล้าและความสาเร็จในการฟื้นฟูป่าชายเลนเพิ่มสูงขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectอุทกพลศาสตร์th_TH
dc.subjectป่าชายเลนth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์th_TH
dc.titleการศึกษาภาคสนามสภาพอุทกพลศาสตร์วิกฤตสำหรับการปลูกต้นไม้ป่าชายเลนth_TH
dc.title.alternativeField study of critical hydrodynamic conditions for mangrove plantingen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailthamnoon@buu.ac.thth_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeThis research describes the relationship between the hydrodynamic factors (water level, waves and currents) and the physical characteristic changes and the survival rate of mangrove sprouts newly planted in the real site, together with quantitatively expresses accumulated hydrodynamic force influencing the survival rate of the mangrove sprouts. Two types of the mangrove sprouts – Rhizophora mucronata and Rhizophora apiculata – of 240 tress in total were planted in tidal flat near the bridge road along Chon Buri coast. A wave guage and a current meter were installed to measure the data at the site throughout 2 months approximately. The interested physical characteristics are number of leaves, diameter of tree trunk, height and representative volume of sprouts. The study result clearly shows that the hydrodynamic condition has effects on the changes of the sprout physical characteristics. In offshore zone where the more severe hydrodynamic condition exists, the sprouts grow up faster for survival; however, the rate of death is consequently high due to the more severe conditions. In comparison between Rhizophora mucronata and Rhizophora apiculata, Rhizophora apiculata is able to physically develop themselves faster and survive better than Rhizophora mucronata do. Analysis results also indicates that the accumulated hydrodynamic forces influence the death rate of the sprouts obviously for both of sprout types. This relationship help in estimating the critical condition for reforestation of the mangroves trees and in considering the measures to protect the forces to increase the survival rate of the sprouts.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_318.pdf5.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น