กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3821
ชื่อเรื่อง: การความสามารถด้านมิติสัมพันธ์แบบอิงตนเองและอิงวัตถุโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในผู้ใหญ่ตอนต้นและผู้สูงอายุ: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองที่สัมพันธ์ต่อเหตุการณ์
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ
ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
คลื่นไฟฟ้าสมอง
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันมีการใช้ภาพระบบสามมิติและเทคโนโลยีเสมือนจริงอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กลับเสื่อมตามวัย การเข้าใจถึงความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในแต่ละวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์แบบอิงตนเองและอิงวัตถุด้วยระบบสามมิติและโปรแกรมเทคโนโลยีเสมือนจริง 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่ตอนต้นกับผู้สูงอายุโดยใช้กิจกรรมทดสอบระบบสามมิติร่วมกับ EEG และ ERP และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์แบบอิงตนเองและอิงวัตถุระหว่างผู้ใหญ่ตอนต้นกับผู้สูงอายุ โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงกิจกรรมทดสอบด้วยภาพกราฟิกสามมิติและภาพสามมิติซ้อนเหลื่อมแบ่งเป็น 4 กิจกรรมทดสอบ โปรแกรมทดสอบด้วยภาพวัตถุพาโนรามาเสมือนจริงแบ่งเป็น 2 การทดสอบ ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้มีสุขภาพดีจำนวน 60 คนประกอบด้วย ผู้ใหญ่ตอนต้นจำนวน 30 คน (M=21.23, SD=1.36) และผู้สูงอายุจำนวน 30 คน (M=62.03, SD=1.13) ทั้งหมดเข้าร่วมทดสอบทุกกิจกรรม หลังจากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของทั้ง 2 กลุ่ม ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ภาพกราฟิกสามมิติ ภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อม และภาพวัตถุพาโนรามาเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ได้ 2) ในกิจกรรมทดสอบด้วยภาพกราฟิกสามมิติ ผู้ใหญ่ตอนต้นมีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องมากกว่า และเวลาปฏิกิริยาตอบสนองน้อยกว่าผู้สูงอายุ (ที่ระดับ .01) Alpha power ที่ตำแหน่งขั้วบันทึก P7 และ P8 ในผู้ใหญ่ตอนต้นสูงกว่าผู้สูงอายุ (ที่ระดับ .01) P2 amplitude ของผู้ใหญ่ตอนต้นต่ำกว่าผู้สูงอายุ ที่ตำแหน่งขั้วบันทึก P8 สำหรับกิจกรรมทดสอบด้านมิติสัมพันธ์แบบอิงตนเอง (ที่ระดับ .01) และที่ตำแหน่งขั้วบันทึก P7 และ P8 สำหรับกิจกรรมทดสอบด้านมิติสัมพันธ์แบบอิงวัตถุ (ที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ) ในกิจกรรมทดสอบด้วยภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อม ผู้ใหญ่ตอนต้นมีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องมากกว่า และเวลาปฏิกิริยาตอบสนองน้อยกว่าผู้สูงอายุ (ที่ระดับ .01) Alpha power ที่ตำแหน่งขั้วบันทึก P7 และ P8 ในผู้ใหญ่ตอนต้นสูงกว่าผู้สูงอายุ (ที่ระดับ .01) 3) ในการทดสอบด้วยภาพวัตถุพาโนรามาเสมือนจริง ผู้ใหญ่ตอนต้นมีค่าเฉลี่ยเปอร์เซนต์ความถูกต้องมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ (ที่ระดับ .01) สรุปว่าผู้ใหญ่ตอนต้นมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงกว่าผู้สูงอายุ สิ่งนี้ช่วยให้เข้าใจความแตกต่างของคนและนำไปใช้เป็นแนวทางการดูแลผู้สูงอายุ มากไปกว่านั้นยังเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการพัฒนาระบบอุปกรณ์นำทางให้แก่ผู้สูงอายุได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3821
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_319.pdf3.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น