กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3819
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาพืชสมุนไพรท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี เพื่อยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคที่สำคัญในพืช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of local medicinal plant in Chanthaburi Province against important phytopathogenic microbial species
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัทธีรา สมารักษ์
นิสาชล เทศศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
คำสำคัญ: พืชสมุนไพร
จุลินทรีย์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: ฤทธิ์การต้านเชื้อราก่อโรคพืชเบื้องต้นของพืชสมุนไพรท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี 6 ชนิดคือ เร่วหอม (Amomum xanthioides) กระวาน (Amomum krervanh) กระทือ (Zingiber zerumbet) ชะมวง (Garcinia cowa) กลอย (Dioscorea hispida) และ ชะเนียง (Archidendron jiringa) ต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Fusarium sp. สาเหตุของโรคเหี่ยวในพืชผัก และเชื้อ Rhizoctonia sp. สาเหตุของโรคราใบติดในทุเรียน ซึ่งเป็นเหตุสำคัญที่ทาให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางเศรษฐกิจ ทำการทดลองโดยนำพืชมาบดและสกัดด้วยตัวทาละลาย คือ เฮกเซน ไดคลอโรมีเทน และเมทานอล นำสารสกัดที่ได้มาทาการทดสอบฤทธิ์การต้านการเจริญของเชื้อราโดยวิธี poisoned food technique พบว่าสารสกัดที่ระดับความเข้มข้นต่างกันมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเส้นใยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสารสกัดจากชะเนียงด้วยเฮกเซนสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใย Fuarium sp. ได้ดีที่สุด มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญเติบโต 57.88% รองลงมาคือสารสกัดจากกระวานด้วยเฮกเซน 55.05% ส่วนสารสกัดด้วยไดคลอโรมีเทนจาก ชะมวง เร่วหอม กระวาน กระทือ และกลอย สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Rhizoctonia sp. ได้ดีมากเฉลี่ย 90.74, 82.67, 94.44, 99.00 และ 94.44% ตามลำดับ ที่ความเข้มข้น 10,000 ppm
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3819
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_346.pdf5.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น