กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3777
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาพฤติกรรมการสืบพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์ พัฒนาการของคัพภะ และ อนุกรมวิธานของปลาบู่ทะเลวงศ์ Gobiidae |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study reproductive behavior, development and Taxonomy of Gobiidae |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิริวรรณ ชูศรี สุชา มั่นคงสมบูรณ์ วิไลวรรณ พวงสันเทียะ จารุนันท์ ประทุมยศ มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
คำสำคัญ: | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ปลาบู่อมทรายแก้มฟ้า Valenciennea strigata เป็นปลาทะเลสวยงามชนิดหนึ่งในสัตว์ทะเลหายาก ที่อาศัยอยู่บริเวณแนวปะการัง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางชีววิทยาพื้นฐานของปลาบู่อมทรายแก้มฟ้า 3 ด้าน คือด้านแรกเพื่อศึกษาพฤติกรรมการสืบพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์ปลา การแยกเพศ และความถี่ในการวางไข่ ด้านที่สองเพื่อศึกษาพัฒนาการของคัพภะและระยะเวลาในการพัฒนาการของปลาบู่อมทรายแก้มฟ้าตั้งแต่ปฏิสนธิจนฟักเป็นตัวอ่อน และด้านที่สามเพื่อศึกษาอนุกรมวิธานของลูกปลาบู่ตั้งแต่แรกฟักจนถึงระยะปลามีลักษณะเหมือนพ่อแม่พันธุ์ภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่าพ่อแม่พันธุ์ปลาบู่อมทรายแก้มฟ้ามีขนาดความยาวทั้งหมด (Total length, TL) มีค่าเฉลี่ย (± SD) เท่ากับ 8.7±1.5 ซม. (n=16) น้าหนักเฉลี่ยเท่ากับ 5.8±3.8 กรัม (n=16) มีพฤติกรรมการจับคู่เฉพาะ เป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว การสังเกตลักษณะภายนอกทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากปลาบู่เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะที่คล้ายกัน สามารถแยกเพศได้จากตุ่มอวัยวะเพศ (genital papilla) โดยปลาบู่อมทรายแก้มฟ้าเพศเมียจะมีติ่งเพศกลมมน และมีรูช่องเปิดรูทวารใหญ่ แต่เพศผู้ติ่งเพศมีขนาดเล็กและแหลม มีการผสมพันธุ์ภายนอกร่างกาย (External Fertilization) มีรอบผสมพันธุ์วางไข่เฉลี่ยทุก 10-12 วัน ±0.89 วัน (n=7) จานวนไข่ที่วางแต่ละครั้งพบตั้งแต่ 3,604-34,000 ฟอง (n=5) ไข่ปลาบู่อมทรายแก้มฟ้ามีลักษณะเป็นไข่ประเภทไข่จม (Adhesive egg) ระยะเวลาการพัฒนาของคัพภะตั้งแต่ได้รับการปฏิสนธิจนฟักออกเป็นตัวอ่อนลูกปลาใช้ระยะเวลา 56 ชั่วโมง 30 นาที สามารถแบ่งระยะพัฒนาการคัพภะเป็น 7 ระยะพัฒนาการ 1) Cleavege 2) Blastula 3) Gastrula 4) Neurula 5) Head bud and tail bud 6) Organ formation และ 7) Hatching out โดยไข่มีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 1.1±0.3 มม. (n=10) มีความกว้างเฉลี่ยเท่ากับ 0.2±0.0 มม. (n=10) และขนาดความยาวทั้งหมดของลูกปลาแรกฟักเฉลี่ยเท่ากับ 1.7±0.0 มม. (n=10) ค่าคุณภาพน้าด้านอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 26.8 28.6 °c และค่าความเค็มน้า 32 ppt ในการศึกษาครั้งนี้ไม่สามารถศึกษาพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระวิทยาของลูกปลาบู่ได้ เนื่องจากตัวอย่างลูกปลาวัยอ่อนของปลาบู่ อมทรายแก้มฟ้า มีจำนวนไม่มากนัก มีเฉพาะลูกปลาวัยอ่อน วันที่ 2 และ 3 ของการฟักเท่านั้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3777 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_267.pdf | 3.78 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น