กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3775
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุพรรณิการ์ สมใจเพ็ง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
dc.date.accessioned2020-02-16T03:42:37Z
dc.date.available2020-02-16T03:42:37Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3775
dc.description.abstractการศึกษาในครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของอิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาวพภูมิอากาศได้แก่ water activity (aw), อุณหภูมิและปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อ (ก) การตอบสนองการเจริญของเชื้อรา Aspergillus flavus ที่สร้างสารอะฟลาทอกซิน และ (ข) การสร้างสารอะฟลาทอกซิน บี1 เชื้อราที่สร้างสารอะฟลาทอกซินที่คัดแยกได้จากเมล็ดข้าวในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย มีจำนวนทั้งหมด 3 ไอโซเลทได้แก่ A. flavus BUU24, BUU52 และ BUU54 ที่สามารถสร้างสารอะฟลาทอกซิน บี1 ที่ระดับความเข้มข้นที่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้โดยมีความเข้มข้นระหว่าง 2.5-480 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในภาพรวมการเจริญของเชื้อราแต่ละไอโซเลทบนอาหารเลี้ยง 3% rice-milled agar มีรูปแบบการเจริญที่คล้ายคลึงกันที่อุณหภูมิ 20-40 °C, 0.85-0.99 aw และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 350-1200 ppm สภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราคือที่ 30-35 °C และ 0.98-0.99 aw ภายใต้สภาวะเครียดเนื่องจากน้ำ (0.85 aw) เชื้อราเกือบทุกไอโซเลทไม่สามารถเจริญได้ไม่ว่าที่ระดับอุณหภูมิและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใด จากการวิเคราะห์ทางสถิติแสดงให้เห็นว่า aw และอุณหภูมิเป็นปัจจัยที่มีผลต่อระยะ lag phase และอัตราการเจริญของเชื้อราภายใต้สภาวะที่ใช้ในการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ในขณะที่อิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัยที่ศึกษาไม่มีผลต่อการตอบสนองของเชื้อรา (P>0.05) ระยะ lag phase เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเชื้อราเจริญภายใต้สภาวะที่มี ระดับอุณหภูมิและ aw มากหรือน้อยกว่าระดับสภาวะที่เหมาะสม สำหรับผลของอิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่ออัตราการสร้างสปอร์ของเชื้อราที่คัดแยกได้ พบว่ามีรูปแบบการตอบสนองที่คล้ายคลึงกันที่อุณหภูมิ 30-40 °C, 0.90-0.99 aw และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 300-1200 ppm โดยอัตราการสร้างสปอร์เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายใต้สภาวะการเจริญที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 300ข ppm ในขณะที่เมื่อเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (1200 ppm) อัตราการสร้างสปอร์ของเชื้อราลดลง จากข้อมูลพื้นผิวการตอบสนองของเชื้อราทั้ง 3 ไอโซเลท พบว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการสร้างสปอร์คือที่ 37-40 °C และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 300-550 ppm และมีปริมาณน้ำอิสระมาก (>0.97 aw) เชื้อราสามารถสร้างสปอร์ได้มากกว่า 4.0x105 สปอร์/กรัม/วัน จากการวิเคราะห์ทางสถิติแสดงให้เห็นว่าชนิดของไอโซเลท, aw, อุณหภูมิ และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีผลต่ออัตราการสร้างสปอร์อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ในขณะที่อุณหภูมิไม่มีผลต่ออัตราการสร้างสปอร์ ภายใต้สภาวะความเครียดเนื่องจากน้ำ (0.90-0.94 aw) ไม่ว่าที่ระดับอุณหภูมิและปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใด พบว่ามีผลยับยั้งการสร้างสปอร์ของเชื้อราเล็กน้อย ส่วนอัตราการสร้างสปอร์เมื่อเชื้อราเจริญภายใต้สภาวะ 0.97-0.99 aw พบว่าอิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัย (ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น x อุณหภูมิ) มีผลต่อการสร้างสปอร์เพิ่มมากขึ้นในการประเมินผลกระทบของอิทธิพลร่วมระหว่างอุณหภูมิ (20, 30, 40 °C) และ aw (0.99, 0.95, 0.99) ต่ออัตราการเจริญของเชื้อรา A. flavus BUU52 บนอาหารเลี้ยงเชื้อ 3% rice-milled agar โดยการใช้วิธีพื้นผิวตอบสนองสมารถสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการทำนายผลอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ โดยแบบจำลองที่ได้สามารถยอมรับได้เพื่อใช้ในการทำนาย (R2=0.86) โดยแบบจำลองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำนายผลการเจริญของเชื้อราภายใต้สภาวะจริงภายใต้สภาวะที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น (1200 ppm) และมีอุณหภูมิสูง (30 °C) รวมทั้งมีปริมาณน้ำอิสระมาก (>0.85 aw) พบว่าเป็นสภาวะที่กระตุ้นให้เชื้อรา A. flavus BUU52 สร้างสารอะฟลาทอกซิน บี1 เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมได้แก่อุณหภูมิ aw และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ เฉพาะการสร้างสารทุติยภูมิแต่ยังมีผลต่อการเจริญของเชื้อราด้วย การศึกษาในครั้งนี้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ที่อาจเป็นคำอธิบายเพิ่มเติม เกี่ยวกับผลของอิทธิพลร่วมระหว่างการเจริญและการสร้างสารอะฟลาทอกซินของเชื้อรา นอกจากนี้ยังนำไปสู่งานวิจัยในอนาคตเพื่อเพิ่มความเข้าใจที่มากขึ้น เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อราในพืชอาหารอื่นที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการเก็บเกี่ยวth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรีth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศต่อการเจริญและการสร้างสารไมโคทอกซินจากเชื้อราที่สร้างสารไมโคทอกซินที่พบในเมล็ดข้าวth_TH
dc.title.alternativeThe impact of climate change on growth and mycotoxin production by mycotoxigenic fungi associated with store rice grainsen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsupunnika@buu.ac.thth_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeThis study has investigated the interaction of climate change factors such as water activity (aw), temperature and carbon dioxide on (a) the growth responses of aflatoxigenic Aspergillus flavus, and (b) the production of aflatoxin B1 by a strain of aflatoxigenic fungi. Aflatoxigenic Aspergillus flavus were isolated from stored paddy rice grains from east regions of Thailand. Only 3 isolates including A. flavus BUU24, BUU52 and BUU54 exhibited the potent aflatoxin B1 producers. These isolates produced detectable aflatoxin B1 at concentration ranging from 2.5-480 g/kg. Overall, the growth of each isolate on 3% rice-milled agar was similar over the 20-40C, 0.85- 0.99 aw and 350-1200 CO2 ppm ranges. The growth was optimum at 30-35 C and 0.98-0.99 aw.ค Under severe aw stress (0·85 aw), most of the isolates unable to grow regardless temperature and CO2 levels used. Statistical analysis indicated that aw and temperature significantly affected lag phase and growth rate within the range used in this study (P<0.05). There was no evidence of statistical interaction effect on the lag phases prior to growth and growth rate of fungal isolates (P>0.05). The lag phases were significantly increased at marginal temperature and aw levels. For spore production rate, the similar profiles for rate of spore production over 30-40 ◦C, 0.90-0.99 aw and CO2 300-1,200 ranges were observed. Rate of spore production were significantly increased at CO2 300 ppm, while the spore production were decreased under elevated CO2 exposure (1,200 ppm). The optimal condition for spore production was found to be around 37-40 ◦C and CO2 300-550 ppm with more freely available water condition (>0.97 aw), higher spore production was obtained (>4.0x105 spore/g/d). Statistical analysis indicated that fungal strains, aw and CO2 levels significantly affected rate of spore production at studied stress condition (P<0.05). While the temperature had no significant effect on the spore yield (P>0.05). Under severe aw stress (0.90-0.94 aw) regardless CO2 and temperature used, slightly inhibitory effect of spore production was observed. Spore production under 0.97-0.99 aw, the impact of the interaction between combined factors (elevated CO2 x temperature) were pronounced. Response surface methodology was used to evaluate the combined effects of different temperatures (20, 30, 40C) and aw (0.99, 0.95, 0.90) on radial growth rate of A. flavus BUU52 on 3% rice-milled agar when glycerol was selected as aw depressor. The established model provided an acceptable accuracy prediction for radial growth rate (R2=0.86) These predictive models are a useful tool which can be applied to predict the growth under in vivo conditions. Under elevated CO2 (1200 ppm) with high temperature (30C) and more freely available water condition (>0.95 aw), the aflatoxin B1 production by a strain of aflatoxigenic A. flavus BUU52 was stimulated. These studies suggest that the ecological factors including temperature, aw and CO2 play a role in the productivity not only in fungal secondary metabolites, but also can impact on growth of fungi. This present study provided ecophysiological growth patterns and aflatoxin B1 production by aflatoxigenic A. flavus in the response to the combined climatechange stresses (aw x temperature x CO2) on a milled rice agar medium and rice grains. The maximum, optimum and minimum conditions for growth have been detailed. This useful information may be the additional explanation in interaction effects on growth and aflatoxin B1 production. Moreover, this rises some interesting questions in the responses of anotherง potential mycotoxigenic fungi to such stress conditions. Thus, this provides the challenge for intensive research to gain a better understanding in order to minimize fungal contamination which can occur during post-harvest handling of other commodities.en
dc.keywordสารไมโคทอกซินth_TH
dc.keywordข้าวth_TH
dc.keywordเชื้อราth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_269.pdf1.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น