กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3729
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของแอคติโนมัยซีททะเลในการผลิตเอนไซม์เพื่อบำบัดเสีย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The efficiency of enzyme from marine Actinomycetes in waste water treatment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณิษา สิรนนท์ธนา
จันทร์จรัส วัฒนะโชติ
มะลิวัลย์ คุตะโค
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: แอคติโนมัยซีท
การบำบัดน้ำเสีย
เอนไซม์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการทดสอบค่ากิจกรรมเอมไซม์ ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสับสเตรทของเชื้อแอคติโนมัยซีท 30 ไอ โซเลต ที่เลี้ยงในอาหารเหลว ISP2 ความเค็ม 17 ppt. ค่าความเป็นกรดด่าง 6.2 อุณหภูมิ 30 องศา เซลเซียส เป็นเวลา 4 วัน พบเชื้อแอคติโนมัยซีท NS56-4-6, CP58-4-20 และ CP58-9-16 แสดงค่า การทำงานเอนไซม์อะไมเลสดีที่สุด เชื้อแอคติโนมัยซีท CP58-9-20, NS56-4-6 และ PL1-4 แสดง ค่าการทำงานเอนไซม์เซลลูเลสดีที่สุด และเชื้อแอคติโนมัยซีท CP15-9-2, CP58-9-18 และ CP15-6-9 แสดงค่าการทำงานเอนไซม์โปรติเอสดีที่สุด เชื้อแอคติโนมัยซีท NS56-4-6, CP58-4-20, CP58-9-16, CP58-9-20 และ PL1-4 มีศักยภาพในการพัฒนาไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานแป้งมัน หรือโรงงานที่มีวัสดุเหลือทิ้งเป็นแป้งหรือเซลลูโลส เนื่องจากสามารถผลิตเอนไซม์อะไมเลส และ เอนไซม์เซลลูเลสที่ดี ส่วนเชื้อแอคติโนมัยซีท CP15-9-2, CP58-9-18 และ CP15-6-9 เหมาะ สำหรับนำมาประยุกต์ใช้อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม เนื่องจากสามารถผลิตเอนไซม์โปรติเอสดีที่สุด เชื้อแอคติโนมัยซีท NS56-4-6 ที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร ISP2 มีประสิทธิภาพในการบาบัดน้ำเสีย สังเคราะห์ที่มีแป้งมันสำปะหลังเป็นองค์ประกอบได้ โดยสามารถลดค่า COD ลงได้ร้อยละ 69.40 แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานน้ำปลา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3729
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_223.pdf2.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น