กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3712
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาบทเรียนระบบเสียงและสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษเพื่อยกระดับ ทัศนคติและความสามารถทางการออกเสียงภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้สูงขึ้น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | English Phonology and Phonetics Lessons Development to enhance Learners' English Attitudes and Pronunciation Ability |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนนท์รัฐ นาคทั่ง สุทธิรักษ์ สุวรรณเดชา ชนาภา ตรีวรรณกุล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษ - - การออกเสียง สาขาปรัชญา |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถทางการออกเสียงภาษาอังกฤษของผู้เรียนที่เรียน วิชาการออกเสียงภาษาอังกฤษหรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้บทเรียน ระบบเสียงและสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ 2) เปรียบเทียบทัศนคติของกลุ่มผู้เรียนที่เรียนวิชาการออกเสียง ภาษาอังกฤษหรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังการใช้บทเรียนระบบเสียงฯ 3) เปรียบเทียบความถูกต้องแม่นยำในการออกเสียงภาษาอังกฤษของผู้เรียนก่อนและหลังใช้บทเรียนระบบ เสียงฯ และ 4) ส ารวจความพึงพอใจของผู้เรียนต่อบทเรียนระบบเสียงฯ กลุ่มทดลองที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 155 ราย จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบไป ด้วย 1) แบบประเมินตนเองด้านความสามารถทางการออกเสียงภาษาอังกฤษก่อนและหลังใช้บทเรียนระบบ เสียงฯ 2) แบบประเมินตนเองด้านทัศนคติต่อการออกเสียงภาษาอังกฤษก่อนและหลังใช้บทเรียนระบบเสียงฯ 3) แบบประเมินความถูกต้องแม่นยำการออกเสียงภาษาอังกฤษก่อนและหลังใช้บทเรียนระบบเสียงฯ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อบทเรียนระบบเสียงฯ และ 5) บทเรียนระบบเสียงและสัทศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ เชิงอนุมาน ได้แก่ และ แพร์ ซิมเพิล ทีเทส (Paired Sample t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่าผลจากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าบทเรียนระบบเสียงฯ มีผลต่อพัฒนาการด้านความ แม่นยำในการออกเสียงภาษาอังกฤษในกลุ่มทดลองจากมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 บทเรียนระบบเสียงฯ มีผลต่อพัฒนาการด้านความสามารถในการออกเสียงภาษาอังกฤษในกลุ่มทดลอง จากมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 บทเรียนระบบเสียงฯ ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติ ในกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม มีความพึงพอใจต่อบทเรียน ระบบเสียงฯไม่ต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3712 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย(Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_206.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น