กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3697
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorรุ่งอาทิตย์ บูชาอินทร์
dc.contributor.authorกฤษนัยน์ เจริญจิตร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
dc.date.accessioned2019-10-07T08:56:01Z
dc.date.available2019-10-07T08:56:01Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3697
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินศักยภาพทำเลที่เหมาะสมของตำแหน่งโรงแรม บริเวณชายฝั่งตะวันออก โดยประยุกต์แบบจำลองคณิตศาสตร์และข้อมูลภูมิสารสนเทศ และ 2) ประเมิน และจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ในการส่งเสริมธุรกิจของกลุ่มโรงแรมในพื้นที่ศึกษา ภายใต้ การประยุกต์ภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยี i-Hotel โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการ วิจัยโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และการวิเคราะห์ค่าถ่วงน้ำหนักปัจจัยแบบลำดับขั้น (AHP) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพทำเลที่เหมาะสมของตำแหน่งโรงแรม บริเวณชายฝั่งตะวันออก การวิจัยเชิงปริมาณได้ ทำการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากโรงแรมที่อยู่ในพื้นที่เหมาะสมระดับมาก ปานกลาง และน้อย จ านวน 156 โรงแรม เพื่อเก็บข้อมูลด้านลักษณะทั่วไปของโรงแรม ด้านปัจจัยที่มีผลต่อทำเลที่ตั้งธุรกิจโรงแรม และด้านการประยุกต์เทคโนโลยี i-Hotel ในการบริหารจัดการโรงแรม และการวิจัยเชิงคุณภาพได้ทำการ สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารโรงแรม จำนวน 18 คน เพื่อหาแนวทางกลยุทธ์ในการพัฒนาธุรกิจโรงแรม ภายใต้การประยุกต์ภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยี i-Hotel ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพทำเลเหมาะสมสูง มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 7.53 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยโรงแรมที่ถูกประเมินอยู่ในเขตศักยภาพทำเลที่เหมาะสมระดับสูงมีทั้งหมด 99 โรงแรม อยู่ในเขตชายฝั่งจังหวัดชลบุรี จำนวน 58 โรงแรม จังหวัดระยอง จำนวน 41 โรงแรม พื้นที่ที่มีศักยภาพทำเล เหมาะสมปานกลาง มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 58.12 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยโรงแรมที่ถูกประเมินอยู่ในเขต ศักยภาพทำเลที่เหมาะสมระดับปานกลางมีทั้งหมด 154 โรงแรม อยู่ในเขตชายฝั่งจังหวัดชลบุรี จำนวน 32 โรงแรม จังหวัดระยอง จำนวน 47 โรงแรม จังหวัดจันทบุรี จำนวน 57 โรงแรม และจังหวัดตราด จำนวน 18 โรงแรม และพื้นที่ที่มีศักยภาพทำเลเหมาะสมต่ำ มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 34.35 ของพื้นที่ ทั้งหมด โดยโรงแรมที่ถูกประเมินอยู่ในเขตพื้นที่ศักยภาพทำเลที่เหมาะสมระดับต่ำมีทั้งหมด 4 โรงแรม ซึ่งอยู่ในเขตชายฝั่งจังหวัดตราดทั้งหมด ด้านการประยุกต์เทคโนโลยี i-Hotel ในการบริหารจัดการโรงแรมแถบชายฝั่งตะวันออก พบว่า โรงแรมกลุ่มตัวอย่างมีการประยุกต์เทคโนโลยี i-Hotel ในด้านการตลาด (4P) มากที่สุด (× ̅ = 3.24) ซึ่งมีความสำคัญระดับปานกลาง รองลงมาเป็นด้านการจัดการองค์กร (× ̅ = 3.18) ซึ่งมี ความสำคัญระดับปานกลาง อันดับ 3 เป็นด้านการพัฒนาเทคโนโลยี i-Hotel ในการขับเคลื่อนประเทศ ไทย 4.0 (× ̅ = 3.12) ซึ่งมีความสำคัญระดับปานกลาง อันดับ 4 เป็นด้านการจัดการทรัพยากร (× ̅ = 3.07) ซึ่งมีความสำคัญระดับปานกลาง และอันดับสุดท้ายเป็นด้านการประสานงานกับหน่วยงาน ภายนอก (× ̅ = 2.95) ซึ่งมีความสำคัญระดับปานกลาง โดยจากผลการวิจัยพบว่าจากการนำกลยุทธ์ i-Hotel ไปใช้ในธุรกิจโรงแรมของผู้ประกอบการ สามารถทำให้ผลประกอบการของโรงแรมดีขึ้น มีผู้ใช้บริการมากขึ้น และสร้างความความประทับใจให้ ผู้ใช้บริการบอกต่อ หรือกลับมาพักซ้ำth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสาขาเศรษฐศาสตร์
dc.subjectโรงแรม
dc.subjectการส่งเสริมการตลาด
dc.subjectโรงแรมอัจฉริยะ
dc.subjectภูมิสารสนเทศ
dc.subjectประเทศไทย 4.0
dc.titleโครงการการประเมินกลยุทธ์ i-Hotel และเขตศักยภาพทำเลที่เหมาะสมของธุรกิจ โรงแรมบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออก ภายใต้แนวคิดประเทศไทย 4.0th_TH
dc.title.alternativeEvaluations of i-Hotel Strategic Development and Hotel Site Suitability along the East Coast Based on Thailand 4.0en
dc.typeResearch
dc.author.emailkitsanai@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailrungatith@buu.ac.thth_TH
dc.year2562
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to: 1) evaluate the potential of the hotel location in Eastern Coast by applying the mathematical model with geo-informatics data and 2) to evaluate and make recommendations on the development of business promotion strategies of hotel groups in the study area under the application of GeoInformatics and i-Hotel technology by using the integrated research methodology between research using Geo-Informatics technology and analysis of weighted factors or Analytic Hierarchy Process (AHP) to analyze the potential of the suitable site of the hotels along the Eastern coast. To quantitative research, the data were collected from the sample group of 156 hotels in the high suitability area, medium suitability area, and low suitability area in order to find out the data concerning general characteristics of the hotels, factors affecting the location of the hotel business, and the application of i-Hotel technology in hotel management. To qualitative research, in-depth interviews were conducted with 18 hotel executives to find strategies for the development of the hotel business under the application of Geo-Informatics and i-Hotel technology. The study findings indicated that the area with the most suitability area was only 7.53 percent of the total area. 99 hotels were evaluated as the hotels the high suitability area where 58 hotels were in the coastal area of Chonburi and 41 hotels were in Rayong. The medium suitability area was only 58.12 percent of the total area. There were 154 hotels evaluated as the hotel with the medium suitability area where 32 hotels were in Chonburi, 47 in Rayong, 57 in Chanthaburi, and 18 in Trat. In addition, low suitability area was only 34.35 percent of the total area. All 4 hotels located in the coastal area of Trat were evaluated in the low suitability area. In the application of i-Hotel technology in hotel management in the Eastern Coast, the sample group of hotels had applied i-Hotel technology in marketing (4P) the most (× ̅ = 3.24) which was of moderate significance. This was followed by organizational management (× ̅ = 3.18), which was also of moderate significance. The third rank was the development of i-Hotel technology for driving the country to Thailand 4.0 (× ̅ = 3.12), which was of moderate significance. The fourth rank was resource management (× ̅ = 3.07) which was of moderate significance. The final rank was the coordination with external agencies (× ̅ = 2.95) which was also of moderate significance. Based on the results of the research, it was found that entrepreneurs’ implementing i-Hotel strategy in the hotel business could improve hotel performance. There was the increase in hotel users. This strategy could impress the users to repurchase or spread word of mouth about the hotelen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_187.pdf9.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น