กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3683
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิทวัส แจ้งเอี่ยม | |
dc.contributor.author | พรทิพย์ พลาดิศัยเลิศ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-10-03T01:46:56Z | |
dc.date.available | 2019-10-03T01:46:56Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3683 | |
dc.description.abstract | เชื้อรา Colletotrichum spp. เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส โรคผลเน่าโรคใบจุด พบการระบาดมากในช่วงฤดูฝน โดยมักก่อโรคในพืชที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วง มะละกอ ยางพารา มันสำปะหลัง ลองกอง กล้วยไม้ เชื้อราชนิดนี้สามารถเข้าทำลายพืชทั้งในระยะอ่อนแอ และระยะสมบูรณ์ ก่อนการเก็บเกี่ยวระหว่างการเก็บเกี่ยว และหลังการเก็บเกี่ยว การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียแอคติโนมัยซีสต์จากดินในพื้นที่การเกษตร เพื่อหาเชื้อที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum spp. เชื้อแอคติโนมัยซีสต์จำนวน 150 ไอโซเลท ถูกนำมาทดสอบด้วยวิธี Dual culture technique จากผลการทดสอบพบว่า มีเชื้อ 23 ไอโซเลทที่ สามารถต้านการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum spp. ได้ คือ Act-62, 75, 79, 81, 85, 86, 114, 116, 117, 118, 120, 124, 125, 127, 130, 131, 132, 133, 135, 136, 141, 142 และ 147 และเมื่อทำการสุ่ม เชื้อแอคติโนมัยซีทส์จำนวน 3 ไอโซเลท คือ Act-120, Act-133 และ Act-135 เพื่อทำการวิเคราะห์ลำดับเบสของยีนส์ 16S rRNA พบว่าคือเชื้อ Streptomyces purpurascens, Streptomyces silaceus และ Streptomyces cavourensis ตามลำดับ ผลจากงานวิจัยนี้มีความเป็นไปได้ที่จะนำเชื้อกลุ่มแอคติโนมัยซีสต์นี้ไปใช้เพื่อการควบคุมทางชีวภาพ (biocontrol) เพื่อลดการใช้สารเคมีและส่งเสริมการเกษตรแบบอินทรีย์ Output / Outcome 1. บทความวิจัยระดับชาติ 1 เรื่อง (ร่างบทความวิจัยได้แนบท้ายไว้ในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์) 2. การพัฒนาบัณฑิตในระดับปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 3. สร้างความร่วมมือระหว่างวิทยาเขต ในงานวิจัยนี้ได้ทำงานร่วมกับอาจารย์ที่วิทยาเขตจันทบุรี 4. พบเชื้อกลุ่มแอคติโนมัยซีทส์ 23 ไอโซเลทจากที่ได้ทำการทดลอง 150 ไอโซเลท คิดเป็นร้อยละ 15.3 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Colletotrichum spp. ข้อเสนอแนะ ควรทำการวิจัยต่อยอดเพื่อหาสารที่ออกฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum spp. หรือนำเชื้อแอคติโนมัยซีทส์เหล่านี้ไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ปุ๋ยอัดเม็ดที่มีส่วนผสมของเชื้อแอคติโนมัยซีทส์ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.title | การศึกษาการยับยั้งเชื้อราคอลเลโททริคัมที่ก่อโรคในพืช จากเชื้อแอคติโนมัยซีทส์ | th_TH |
dc.title.alternative | Study of Inhibition of Colletotrichum species Fungal Plant Pathogens from Actinomycetes | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | witawat@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2560 | th_TH |
dc.keyword | โรคเชื้อราในพืช | th_TH |
dc.keyword | โรคใบจุด | th_TH |
dc.keyword | เกษตรอินทรีย์ | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_185.pdf | 2.66 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น