กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3674
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงกุ้งตัวตลก (Hymenocera picta) ด้วยอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นทดแทนการเลี้ยงด้วยดาวแดงมีชีวิต (Linckia multifora)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Culture of harlequin shrimp (Hymenocera picta) on artificial feed to substitute the use of live comet seastar (Linckia multifora)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จารุนันท์ ประทุมยศ
ณิษา สิรนนท์ธนา
ศิริวรรณ ชูศรี
ธนกฤต คุ้มเศรณี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: พฤติกรรมการกินดาวทะเลโดยเฉพาะดาวแดง (Linckia multifora) ของกุ้งตัวตลก (Hymenocera picta) เป็น อุปสรรคต่อการเพาะเลี้ยงในฟาร์มและต่อการขยายกิจการให้เป็นเชิงพาณิชย์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ ผลิตอาหารสำเร็จรูปกุ้งตัวตลกทดแทนการเลี้ยงด้วยดาวแดง (Linckia multifora) มีชีวิต การวิจัยระยะที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองของกุ้งตัวตลก (H. picta) ต่อกลิ่นสารเคมีในดาวทะเลและสารเคมีบางชนิดที่เป็น องค์ประกอบหลักของดาวทะเล ทดสอบกุ้งตัวตลก (H. picta) จำนวน 198 ตัว ขนาดน้ าหนัก 0.5-1.0 กรัมและ ความยาว 1.50-2.55 เซ็นติเมตร กับสารเคมีทดลองแต่ละทรีตเมนต์ในอุปกรณ์ Y-shaped choice chamber ด้านบนของปลายทั้งสองข้างของ Y-shaped choice chamber มีกล่องปริมาตร 2 ลิตรข้างละ 1 กล่องซึ่งข้าง หนึ่งใส่สารละลายสำหรับทดลองและอีกข้างหนึ่งใส่น้ำทะเลความเค็มประมาณ 33 พีพีที อัตราการปล่อย สารละลายทั้งสองข้างประมาณ 14-15 มิลลิลิตรต่อนาที ทรีตเมนต์ทดลองทั้งหมด 23 ทรีตเมนต์และแต่ละทรีต เมนต์ทดลองเป็นระยะเวลา 15 นาที ทรีตเมนต์ทดลองประกอบด้วย 1) น้ำทะเล (ชุดควบคุม); 2) ดาวแดงมีชีวิต (Linckia multifora) 1 ตัว น้ำหนัก 16.59 กรัมต่อลิตรน้ำทะเล; 3) ดาวแดงมีชีวิต (Linckia multifora) 10 ตัว น้ำหนัก 116.24 กรัมต่อลิตร; 4) ดาวแดงทำแห้งด้วยการ freeze-dried น้ าหนัก 150 กรัมต่อลิตร; 5) ดาว แสงอาทิตย์มีชีวิต (Luidia maculata) 1 ตัว น้ำหนัก 159.51 กรัมต่อลิตร; 6) ดาวทรายมีชีวิต (Astropecten indicus) 10 ตัว น้ำหนัก 117.90 กรัมต่อลิตร; 7) ดาวทะเล 5 แฉกมีชีวิต (Pentaceraster gracilis) 1 ตัว น้ำหนัก 48.92 กรัมต่อลิตร; 8) สารละลายซาโปนินความเข้นข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเล 5 นาทีก่อนทดลอง; 9) สารละลายซาโปนินความเข้นข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเล 30 นาทีก่อนทดลอง; 10) สารละลายซาโปนินความเข้นข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเล 5 นาทีก่อนทดลอง; 11) สารละลายซาโปนินความเข้นข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเล 30 นาทีก่อนทดลอง;12) สารละลาย L-aspartic acid ความเข้มข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 13) สารละลาย L-aspartic acid ความเข้มข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 14) สารละลาย L-aspartic acid ความเข้มข้น 0.3% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 15) สารละลาย glycine ความเข้มข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 16) สารละลาย glycine ความเข้มข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 17) สารละลาย glycine ความเข้มข้น 0.3% ละลายในน้ำทะเลก่อน ทดลอง 5 นาที; 18) สารละลาย monosodium glutamate (MSG) ความเข้มข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเลก่อน ทดลอง 5 นาที 19) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที 20) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.3% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที 21) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 30 นาที 22) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 30 นาที; 23) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.3% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 30 นาที ผลการทดลองพบว่ากุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับน้ำทะเลไม่มีพฤติกรรมลังเลหรือหยุดเดินตลอด การทดลองและเดินสลับกันระหว่างจุดเริ่มต้นและแขนทั้งสองข้างของอุปกรณ์ กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบ กับดาวแดงมีชีวิต จำนวน 1 ตัวและ10 /ลิตรน้ำทะเล ไม่ลังเลหรือหยุดเดิน พฤติกรรมการเลือกข้างของกุ้งตัวตลก ชัดเจนในกุ้งที่ทดสอบกับดาวแดงมีชีวิต 10 ตัวเนื่องจากกุ้งตัวตลก (H. picta) เดินอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นกับปลาย ที่มีดาวแดง กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับดาวแดงแดง (L. multiflora) ทำแห้งด้วยการ freeze-dried และกุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับดาวแสงอาทิตย์มีชีวิต (L. maculata) เดินสลับกันระหว่างจุดเริ่มต้นและ ปลายทั้งสองข้างไม่มีรูปแบบการเดินระหว่างข้างใดข้างหนึ่งที่ชัดเจน กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับดาว ทรายมีชีวิต (A. indicus) ไม่ลังเลเมื่อเดินเข้าไปทางที่มีดาวทรายมีชีวิตและบางตัวมีพฤติกรรมเดินกลับเข้าไปที่ ปลายข้างเดิมที่มีดาวทรายหลังและอยู่ที่ปลายข้างที่มีดาวทรายเป็นเวลานาน กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ ดาวดาวทะเล 5 แฉก (P. gracilis) ลังเลหรือหยุดเดินเและมีแนวโน้มเดินไปทางที่มีกล่องบรรจุน้ าทะเลมากกว่า เดินไปทางที่มีดาวทะเลห้าแฉก กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับสารละลายซาโปนินในระดับความเข้มข้น 0.1%และ 0.2% มีพฤติกรรมลังเลในการเดินหรือหยุดเดินและการกระโดด ที่ระดับความเข้มข้นของซาโปนิน 0.1% กุ้งตัวตลก(H. picta) มีพฤติกรรมเดินและเดินกลับเข้าไปที่ปลายทั้งสองข้างที่มีและไม่มีสารละลายซาโปนิน แต่ที่ระดับความเข้มข้น 0.2% กุ้งตัวตลก (H. picta) เดินอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นและปลายข้างที่ไม่มีสารละลายซา โปนิน0.2% มากกว่า กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ L-aspartic acid ที่ระดับความเข้มข้น 0.1%-0.3% มี พฤติกรรมการลังเลหยุดเดินและมีแนวโน้มเลือกเดินไปปลายข้างที่มีน้ าทะเล กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ glycine ความเข้มข้น 0.1% และ 0.2% ไม่ลังเลในการเดินและไม่มีรูปแบบการเดินอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ ชัดเจน แต่ที่ระดับความเข้มข้น 0.3% กุ้งตัวตลก (H. picta) บางตัวมีพฤติกรรมเดินออกและเดินกลับเข้าไปทาง ปลายข้างที่มีน้ าทะเล กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ MSG ความเข้มข้น 0.1% มีพฤติกรรมการหยุดเดินแต่ ไม่มีรูปแบบการเดินอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ชัดเจน กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบ MSG 0.2% และ 0.3% มีพฤติกรรมเหมือนกันคือการหยุดเดิน กระโดดหรือกางก้าม กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ MSG ความ เข้มข้น 0.2% (5 นาที) มีแนวโน้มเดินอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นกับปลายข้างที่มีน้ำทะเลแต่กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ ทดสอบกับ MSG 0.2% (30 นาที) มีแนวโน้มอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นกับปลายข้างที่มี MSG 0.2% กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ MSG 0.3% (5 นาทีและ 30 นาที) มีพฤติกรรมเดินกลับเข้าไปซ้ำ ๆ ที่ปลายข้างเดิมและมี แนวโน้มเดินอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นกับปลายทั้งสองข้างที่มีและไม่มี MSG 0.3% โดยสรุป ดาวทรายมีองค์ประกอบทางเคมีสามารถดึงดูดกุ้งตัวตลกให้เข้าหาอาหารได้ดีกว่าดาวทะเลชนิด อื่นๆ กุ้งตัวตลก (H. picta) ตอบสนองต่อดาวแดงแห้ง (freeze-dried) ยังอยู่ในระดับที่สามารถนำมาใช้เป็น วัตถุดิบอาหารชนิดหนึ่งในการผลิตอาหารสำเร็จรูปกุ้งตัวตลก (H. picta) แต่ควรเพิ่มสารเคมีที่ดึงดูดให้กุ้งตัวตลก เข้าหาอาหาร การศึกษาในระยะต่อไปเป็นการผลิตอาหารทดลองให้กุ้งตัวตลกกินโดยคัดเลือกสารเคมีทีดึงดูดให้ กุ้งตัวตลกเข้ามาที่อาหาร เช่น MSG หรือ ซาโปนินแต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมในการใช้ การวิจัยระยะที่ 2 เลือกชนิดสาร 3 ชนิดจากการทดลองระยะแรก (ปีที่ 1) มาผสมในอาหารเพื่อเป็นสารดึงดูด กลิ่นในอาหารทดลองกุ้งตัวตลก (H. picta) ในการทดลองเบื้อต้นทำการทดสอบสารดึงดูดกลิ่นในอาหารผสมที่มี สารดึงดูดกลิ่นในอาหารผสม 9 ชนิด ได้แก่ อาหารทดลองทุกชนิดมีอาหารผสมหลักคือเนื้อปลาขูด วีทกลูเต็นและ น้ำแตกต่างกันที่ระดับของสารเคมีที่ใส่เพื่อเป็นสารดึงดูดกลิ่น อาหารทดลองชนิด 1-3 มีสารดึงดูดกลิ่น กรดอมิ โน L-aspartic acid 0.3%, 0.5% และ 1.0% อาหารทดลองชนิดที่ 4-6 มีสารดึงดูดกลิ่น กรดอมิโน Mono sodium glutamate (MSG) 0.3%, 0.5% และ 1.0% และอาหารทดลองชนิดที่ 7-9 มีสารดึงดูดกลิ่น ซาโปนิน 0.3%, 0.5% และ 1.0% ทดลองกับกุ้งตัวตลก (H. picta) ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง (F1) น้ำหนักระหว่าง 0.650.71 กรัม ความยาว 2.00-2.35 เซ็นติเมตร จำนวน 18 ตวั (3 ตัวต่อชนิดอาหาร) ทดลองในกล่องพลาสติกบรรจุ น้ำทะเล 500 มิลลิลิตร ในระยะเวลา 2 นาที อดอาหารกุ้งตัวตลก (H. picta) ก่อนทดลอง 1 สัปดาห์ พบว่ากุ้งตัว ตลก (H. picta) ไม่ตอบสนองต่ออาหารผสมที่มีกรดอมิโนทั้งสองชนิดในทุกระดับความเข้มข้นและไม่ตอบสนอง ต่ออาหารผสมที่มีซาโปนินในอัตรา 0.3% แต่กุ้งตัวตลก (H. picta) ตอบสนองต่ออาหารผสมที่มีซาโปนินในอัตรา 0.5%-1.0% โดยกุ้งตัวตลก (H. picta) ทดสอบกับอาหารผสมที่มีซาโปนินในอัตรา 0.5% ขยับหนวดเล็กน้อยและ อยู่กับที่ในขณะที่กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับอาหารผสมที่มีซาโปนินในอัตรา 1.0% ขยับหนวดและเดิน เข้าหาอาหาร การทดลองที่ 2 กุ้งตัวตลก (H. picta) จ านวน 60 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 0.89 ± 0.00 กรัม ความยาวเฉลี่ย 2.28 ± 0.01เซ็นติเมตร ให้กินอาหารผสมที่มีซาโปนิน 1.0% และกุ้งตัวตลก (H. picta) จำนวน 60 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 0.64 ± 0.00 กรัม ความยาวเฉลี่ย2.14 ± 0.01 เซ็นติเมตร ให้กินดาวแสงอาทิตย์แช่แข็งเป็นระยะเวลา 30 วัน ทำการทดลองในตู้ 30 ลิตรที่ต่อกับระบบปิดที่มีบ่อพักน้ำเพื่อใช้ในการหมุนเวียน ในระบบขนาด 70 ตัน พบว่ากุ้ง ตัวตลกทุกตัว (H. picta) กินอาหารผสมที่มีซาโปนิน 1.0% แต่กุ้งทยอยตายและตายหมดภายในระยะเวลา 1 เดือน กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่เลี้ยงด้วยดาวแสงอาทิตย์แช่งแข็งเริ่มตายหลังทดลอง 24-29 วัน สรุป มีความ เป็นไปได้ในการเลี้ยงกุ้งตัวตลกด้วยอาหารที่ผลิตขึ้นแต่ต้องทดสอบระดับความเข้มข้นของชนิดวัตถุดิบอาหารและ ชนิดสารเคมีที่ใช้เป็นสารดึงดูดกลิ่นในอาหารให้เหมาะสมและกุ้งรอดตาย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3674
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_178.pdf2.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น