กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3623
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงขนาดจุลภาคร่วมกับอาหารเหลวบ่งชี้การเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ สำหรับตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของซัลโมเนลลากลุ่มที่สามารถเกิดปฏิกิริยา ไทโอซัลเฟตรีดักชั่นได้อย่างรวดเร็ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Microscale detection and hydrogen sulfide indicator enrichment media for rapid presumptive screening of thiosulfate-reducing Salmonella
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาลักษณ์ ทิพยรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ซัลโมเนลลา
อาหารเหลว
ไฮโดรเจนซัลไฟด์
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้พัฒนาเทคนิคการเลี้ยงเชื้อในอาหารเหลวบ่งชี้ในระดับไมโครสเกล เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่ง สำหรับใช้ในการตรวจสอบการปนเปื้อนของซัลโมเนลลาเบื้องต้นในผลิตภัณฑ์อาหารและบริเวณผลิต โดยมีการพัฒนาสูตรอาหารเหลวบ่งชี้ชนิดใหม่ที่อาศัยหลักการของปฏิกิริยาความสามารถในการผลิต ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ของซัลโมเนลลา ซึ่งสามารถบ่งชี้การปนเปื้อนได้จากการเปลี่ยนสีของอาหาร เหลวในตัวบ่งชี้การเกิดปฏิกิริยาที่เหมาะสม การอ่านผลจากอาหารเหลวบ่งชี้สูตรที่ใช้ไทโอซลัเฟตเป็นสารตั้งต้น ทำให้สามารถจำแนกกลุ่มซัลโมเนลลาที่สามารถใช้ไทโอซัลเฟตออกจากกลุ่มแบคทีเรียที่ไม่ สามารถใช้ ไทโอซัลเฟตได้ เมื่อตรวจวัดสมบัติทางแสงของระบบบ่งชี้แต่ละชนิดในอาหารที่มีการ เพาะเลี้ยงซัลโมเนลลาและแบคทีเรียอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ซัลโมเนลลาโดยวิธีทางสเปคโตรโฟโตรเมตรีด้วยการใช้ความยาวคลื่นแสงที่ 650 นาโนเมตร (ใช้เฟอร์ริกแอมโมเนียมซิเตรทเป็นอินดิเคเตอร์) ตามลำดับสำหรับการทดลองพัฒนาสูตรอาหารเหลวบ่งชี้เบื้องต้นชนิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ ที่มีองค์ประกอบเป็นไทโอซัลเฟตเป็นหลักนั้น พบว่าในการบ่มเป็นเวลา 24 ชั่วโมง สูตรอาหาร TFTOA (องคป์ระกอบหลัก ได้แก่ ไทโอซลัเฟตเฟอร์ริกแอมโมเนียมซิเตรท ทรีฮาโลส ออร์นิธินและอาร์จินีน) มีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มการเกิดตะกอนสีดำของไฮโดรเจนซัลไฟด์และค่า OD650 ใน Salmonella Typhi และ Salmonella Anatum และค่อนข้างสูงในซัลโมเนลลาซีโรวาร์อื่น ๆ ที่สามารถใช้ไทโอซัลเฟตได้ ในขณะที่ซัลโมเนลลาซีโรวาร์ทั่ว ๆ ไป สร้างตะกอนสีดำได้ในปริมาณมากในสูตร TFXOA แต่ S. Typhi และ S. Anatum นั้นสร้างตะกอนสีดำได้น้อย นอกจากนี้สูตรอาหารทั้งสองยงัมีความจำเพาะในการคัดเลือกซัล โมเนลลาจากแบคทีเรียแข่งขันอื่น ๆ มากกว่าอาหารในปัจจุบัน เพราะสามารถแยก Citrobacter freundii และ Proteus vulgaris ออกได้ ผลจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นในเบื้องต้นว่าวิธีการใหม่ในการตรวจ วิเคราะห์การปนเปื้อนของซัลโมเนลลาเบื้องต้น มีความสะดวกในการวิเคราะห์และให้ผลการทดลอง รวดเร็ว โดยให้ผลเบื้องต้นในอาหารเหลวในวันแรกของการทดสอบและให้ผลเบื้องต้นครั้งที่สองบน อาหารแข็งในวันที่สอง ในขณะที่วิธีการมาตรฐานนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 วันสำหรับให้ผลการทดสอบเบื้องต้นครั้งแรก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3623
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_113.pdf3.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น