กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3619
ชื่อเรื่อง: | โครงการการสร้างระบบกลุ่มเกษตรกรพี่เลี้ยงเพื่อพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบกลุ่มภาคเหนือของประเทศไทย โดยประยุกต์หลักการพัฒนาองค์การและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Creating a system to improve the quality of raw milk by mentor group in the northern of Thailand Using Integration of Organization Development and Geoinformatics |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รุ่งอาทิตย์ บูชาอินทร์ กฤช จรินโท กฤษนัยน์ เจริญจิตร สมภพ สวามิภักดิ์ สินชัย เรืองไพบูลย์ บัญชา โชติรัตนฤทธิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ |
คำสำคัญ: | น้ำนมดิบ ระบบกลุ่มเกษตรกรพี่เลี้ยง ฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ สาขาเศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การทำวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบูรณาการโดยใช้ศาสตร์ของภูมิสารสนเทศซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์กับ บริหารธุรกิจซึ่งเป็นสังคมศาสตร์โดยวัตถุประสงค์ของแผนงานวิจัย/ โครงการวิจัย คือ 1) เพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรซึ่งจะส่งผลถึงการเพิ่มคุณภาพน้ำนมดิบและพัฒนาสร้างระบบเกษตรกรพี่เลี้ยงโคนมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 2) เพื่อสร้างฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศและวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการเพาะปลูกพืชอาหารสำหรับโคนมในการสนับสนุนระบบกลุ่มเกษตรกรพี่เลี้ยง เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการโดยประยุกต์หลักการพัฒนาองค์การและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศนั้นได้ดำเนินการตามขั้นตอนของวิธีการวิจัยในระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 6 โดยการคัดเลือกลุ่มตัวอย่าง 18 ฟาร์มจากภาคเหนือผลการวิจัยแสดงถึงการพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเป็นส่วนใหญ่ โครงการได้มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1.) ทัศนคติในการเปลี่ยนแปลงการเลี้ยงโคเมื่อได้เข้าอบรมและเชื่อในสิ่งที่ผู้สอนบอกและปฎิบัติตาม ส่งผลทำให้ค่าน้ำนมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการพัฒนา “คน” มีความจำเป็นต้องคัดเลือกคนที่พร้อมรับความรู้ อยากเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงและสามารถใช้เทคโนโลยี 2.)ประยุกต์เพื่อทำการเกษตรแบบแม่นยำสูง หรือ Precision Agriculture ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงโคนมในงานนี้คือการหาแหล่งอาหารเช่น หญ้าในพื้นที่ใกล้เคียงและอาจได้ต่อยอดเช่นการติดเครื่องระบุพิกัดให้โคเพื่อศึกษาการเดินของโคแต่ละตัวซึ่งส่งผลไปสู่สุขภาพของโคต่อไป 3.) สามารถใช้เทคโนโลยีเบื้องต้นด้าน Information Technology ในงานนี้เช่น Application cow care 4.0 ได้ แล้ว จะนำไปสู่การเก็บข้อมูลด้านการเลี้ยงโคทั้งหมดเพื่อมาวิเคราะห์ ใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มอย่างสมบูรณ์เช่น ข้อมูลโคตั้งแต่เกิด ติดสัตว์ ระบบเตือนผสมเทียม ปริมาณนม คุณภาพน้ำนม สุขภาพโค การเจ็บป่วย และอื่น ๆ ให้อยู่ในรูปข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ทั้งของเจ้าของฟาร์ม สหกรณ์โคนม รวมไปถึงภาพรวมในระดับประเทศ 4.)เกษตรกรผู้เลี้ยงโครุ่นสอง โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโครุ่นหนึ่งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ให้คำปรึกษา ได้นำความรู้ที่ได้มาแล้วเกิดประสบความสำเร็จไปบอกต่อผู้ประกอบการหรือเจ้าของฟาร์มอื่น ๆ ในสหกรณ์เดียวกัน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3619 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_107.pdf | 12.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น