กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3571
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ฉลองชัย ธีวสุทรสกุล | |
dc.contributor.author | วิชลัดดา อุ่นสะอาด | |
dc.contributor.author | ชาญ เถาวันนี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-05-22T02:05:56Z | |
dc.date.available | 2019-05-22T02:05:56Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3571 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์การวิจัย 1. พัฒนา รูปแบบการพัฒนาครูฟิสิกส์มัธยมศึกษา ด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยการศึกษาบทเรียน 2. ประเมินผล รูปแบบการพัฒนาครูฟิสิกส์มัธยมศึกษา ด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ในด้านต่อไปนี้ 2.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียน 2.2 เปรียบเทียบทักษะการคิดวิจารญาณของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังทดลอง 2.3 เปรียบเทียบทัศนคตขิองนักเรียนต่อวิชาฟิสิกส์ระหว่างก่อนและหลังทดลอง 2.4. สอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ต่อกิจกรรมสะเต็มศึกษาวิชาฟิสิกส์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ ผู้สอน หรือ ครูวิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอน หรือ ครูวิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษาจํานวน 25 คน และนักเรียน มัธยมปลายจํานวน 47 คน ได้จากการเชิญชวนเข้าร่วมการวิจัย โดยทั้งนี้ได้รับ การอนุมัติจากผู้บริหารโรงเรียนต้นสังกัดของครูและนักเรียน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน 2) แบบทดสอบทักษะการคิด วิจารณญาณ 3)แบบสอบถามทัศนคติต่อวิชาฟิสิกส์ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็น/พึงพอใจ ต่อกิจกรรมสะเต็มศึกษา ซึ่งทุกฉบับมีค่า ความเชื่อมั่นมากกว่า 0.80 ขั้นตอนการดําเนินการวิจัย 1. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัย สนทนากลุ่ม (Focus group) และ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 2. ออกแบบรูปแบบฯ และตรวจสอบปรับปรุงโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นนํารูปแบบฯ ให้ครูฟิสิกส์ 25 คน ทดลองใช้ออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษา และให้ครูฟิสิกส์ 5 คน นํากิจกรรมสะเต็มศึกษาที่ตนเองออกแบบไปทดลองสอนนักเรียน โดยใช้กระบวนการศึกษาบทเรียน (Lesson Study) พร้อมวัดและประเมินผล โดยแบ่งเป็นทดลองกับนักเรียนกลุ่มเล็ก 3 ครั้ง และทดลองกับนักเรียนกลุ่มใหญ่ในชั้นเรียน 2 ครั้ง ผลการวิจัย 1. ได้รูปแบบการพัฒนาครูฟิสิกส์มัธยมศึกษา ด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด สะเต็มศึกษา มีขั้นตอนการปฏิบัติ 8 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาทําความเข้าใจสะเต็มศึกษา ขั้นที่ 2 ศึกษากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ขั้นที่ 3 ศึกษาความแตกต่างระหว่างกิจกรรมสะเต็มศึกษา กับ กิจกรรมเรียนรู้อื่น ๆ ขั้นที่ 4 ออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษาแบบอิงปัญหา ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 4.1 กําหนดสถานการณ์ปัญหา พร้อมเงื่อนไขหรือข้อจํากัด 4.2 กําหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 4.3 กําหนดความรู้ใช้อธิบายสถานการณ์ปัญหา 4.4 วิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหา 4.5 เขียนแผนผังความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างปัจจัย 4.6 วิเคราะห์วิธีแก้ปัญหาวิธีต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ 4.7 วิเคราะห์เลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ขั้นที่ 5 ออกแบบวิธีวัดประเมิน ขั้นที่ 6 ทดลองแก้ปัญหา (ทดลองออกแบบชิ้นงาน) และทดลองประเมิน ขั้นที่ 7 นําข้อมูลทั้งหมดจากข้อ 4-6 มาเขียนแผนจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 8 นําไปทดลองใช้สอน และปรับปรุง วนรอบซ้ํา รายละเอียดวิธีปฏิบัติแต่ละขั้นตอน อยู่ในภาคผนวก 4 2. ผลจากการให้ครูฟิสิกส์ 25 คน ทดลองใช้รูปแบบฯ ออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษาลักษะ อิงปัญหา(Problem based learning) ได้จํานวน 12 เรื่อง ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินว่าเกือบทุกกิจกรรมมีคุณภาพอยู่ในระดับ “ดี” หรือ “ดีมาก” และจะมีคณุ ภาพมาก ถ้ามีวิศวกรให้คําแนะนํา หรือผู้สอนมี ประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์มาก่อน 3. ผลจากการให้ครูฟิสิกส์ 5 คน นํากิจกรรมสะเต็มศึกษาที่ตนเองออกแบบ ไปทดลองสอน นักเรียนของตนเอง พบว่านักเรียนทุกกลุ่มมีทัศนคติต่อวิชาฟิสิกส์ ทักษะการคิดวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์การเรียน (ความสามารถในการบูรณาการความรู้ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่ออธิบายสถานการณ์ปัญหา) ดีขึ้นหรือสูงขึ้น รวมทั้งมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมสะเต็มศึกษาในระดับ “มาก” 4. พบว่าสิ่งที่ส่งผลต่อการพัฒนาสะเต็มศึกษาของประเทศไทย คือ ความไม่เข้าใจวัตถุประสงคที่ แท้จริงของสะเต็มศึกษา ความไม่เข้าใจกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering Process Design) โรงเรียนบางแห่งมีนโยบายและแนวปฏิบัติสะเต็มศึกษาไม่ชัดเจน และครูบางคนมีประสบการณ์ไม่เพียงพอที่จะให้คําแนะนํานักเรียน ในการบูรณาการความรู้วิชา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่ออธิบายสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ในสะเต็มศึกษา | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี | th_TH |
dc.subject | กิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา | th_TH |
dc.subject | ครูฟิสิกส์ | th_TH |
dc.subject | ฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | th_TH |
dc.subject | ฟิสิกส์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ | th_TH |
dc.title | รูปแบบการพัฒนาครูฟิสิกส์มัธยมศึกษา ด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยการศึกษาบทเรียน | th_TH |
dc.title.alternative | The model for development the teacher of physics in higher school to designs the learning activities of STEM Education with lesson study | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | chalongc@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2560 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Research Objectives 1. To develop the development model for physics teachers at secondary level to design the learning activities of STEM education with lesson study. 2. To evaluate the development model for physics teachers in secondary level to design the learning activities of STEM education with lesson study is several aspects as follow: 2.1 Compare the student achievement before and after classes experiment 2.2. Compare the student's critical thinking skills before and after experiment. 2.3. Compare the students' attitudes towards physics before and after experiment. 2.4. Ask students’ satisfaction towards STEM learning activities. Population and sample The population is physics teachers at secondary level. The sample is consisted of 25 physics teachers at the secondary level and 47 high school students. They are invited to participate in the research with the approval from their schools’ administrators. Data collection tools are included with 1) Achievement test, 2) Critical thinking Skills Test, 3) Questionnaire of attitude toward physics, 4) Satisfaction questionnaire for the STEM Education. All of them have confidence values of more than 0.80. Research Methodology 1. Collect relevant information, by studying the papers and research, focus group discussions and interviews with experts. 2. Design Model and revised by focus group discussion. Then 25 physics teachers have a trial on Model. 5 physics teachers teach their classes with their own full-scale STEM activities by using the lesson study. 3. Measure and evaluate experiment with 3 small group of students and with 2 large groups of students. Research result 1. Have the development model for physics teachers at secondary level to design the learning activities of STEM education. There are 8 steps as follow. | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย(Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_021.pdf | 4.78 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น