กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3561
ชื่อเรื่อง: เทคโนโลยีการผลิตอาหารสำเร็จรูปกุ้งตัวตลก (Hymenocera picta)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Artificial feed production technology for harlequin shrimp (Hymenocera picta)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จารุนันท์ ประทุมยศ
ณิษา สิรนนท์ธนา
อมรรัตน์ กนกรุ่ง
วิรชา เจริญดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: กุ้งตัวตลก -- อาหาร
กุ้งตัวตลก -- การเจริญเติบโต
อาหารสำเร็จรูป
เทคโนโลยีการผลิตอาหาร
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: แผนงานวิจัยเทคโนโลยีการผลิตอาหารสําเร็จรูปกุ้งตัวตลก (Hymenocera picta) มีวัตถุประสงค์ หลักเพื่อผลิตอาหารสําเร็จรูปสําหรับเลี้ยงกุ้งตัวตลกเพื่อทดแทนการเลี้ยงด้วยดาวทะเลมีชีวิต มีระยะเวลา การวิจัย 3 ปี (2559-2561) แผนงานวิจัยประกอบไปด้วย 1 แผนงานวิจัยและโครงการวิจัย 3 โครงการ โครงการวิจัยที่ 1คุณค่าอาหารในสัตว์ทะเลกลุ่มเอคไคโนเดิร์ม: แหล่งวัตถุดิบ อาหารสําหรับกุ้งตัวตลก (Hymenocera picta) โครงการวิจัยที่ 2 รูปแบบ การสะสมสารสีของสัตว์ทะเลกลุ่มเอคไคโนเดิร์ม และโครงการวิจัยที่ 3 การเลี้ยงกุ้งตัวตลก (Hymenocera picta) ด้วยอาหารสําเร็จรูปที่ผลิตขึ้นทดแทนการ เลี้ยงด้วยดาวแดงมีชีวิต (Licnkia multifora) แผนงานวิจัยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (ปีแรกของการ วิจัย) ประกอบด้วย 1 แผนงานวิจัยและโครงการวิจัย 2 โครงการ ผลการดําเนินงานในปีที่ 1 พบว่าแผนงาน วิจัยเทคโนโลยีการผลิต อาหารสําเร็จรูปกุ้งตัวตลกประสพผลสําเร็จตามเป้าหมายคือ 1) ได้องค์ความรู้ พื้นฐานงานวิจัยด้านสารอาหารในอาหารธรรมชาติของกุ้งตัวตลกและ 2) ได้ข้อมูลสารสีในอาหารธรรมชาติ ของกุ้งตัวตลก ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้เป็นผลสําเร็จเบื้องต้น (P) ในการนํามาใช้ในการประกอบการคัดเลือก ชนิดวัตถุดิบในการผลิตอาหารสําเร็จรูปกุ้งตัวตลกซึ่งเป็นงานวิจัยโครงการที่ 3 ที่จะดําเนินการต่อไปในปีที่ 2-3 รายละเอียดการดําเนินงานของแต่ละโครงการมีดังนี้ โครงการวิจัยที่ 1 ศึกษาคุณค่าอาหารในดาวทะเล จํานวน 10 ชนิดและปลิงทะเลจํานวน 4 ชนิด พบปริมาณเถ้า ไขมัน โปรตีน ในตัวอย่างดาวทะเลและปลิงทะเล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเถ้าพบปริมาณสูงสุดในตัวอย่างดาวทะเลปุ่มใหญ่ Protoreaster nodosus (AS2) ปริมาณเฉลี่ย 52.46% ไขมันพบสูงสุดในตัวอย่างดาวทราย Astropecten polyacanthus (GS2) ปริมาณ เฉลี่ย 1.95% และพบโปรตีนสูงสุดในดาวทะเลสีน้ําเงิน Linckia laevigata (AS4) ปริมาณเฉลี่ย 20.77% ส่วนในปลิงทะเลพบปริมาณเถ้าและไขมันสูงสุดในปลิงทะเลหนวดกิ่งไม้สีเขียว Colochirus quadrangularis (GSC4) ปริมาณเฉลี่ย (12.30%) และปริมาณเฉลี่ย 9.63% ตามลําดับ และพบโปรตีน สูงสุดในปลิงทะเลสีดํา Holothuria (Mertensiothuria) leucospilota (GSC2) ปริมาณเฉลี่ย 42.94% ชนิดดาวทะเลที่มีโปรตีนสูงกว่าดาวแดง Linckia multiflora (AS1) คือดาวทะเลสีน้ำเงิน Linckia laevigata (AS4) ดาวทราย A. polyacanthus (GS2) ดาวทะเลสีทอง Linckia guildingi (AS5) และดาว หมอนปักเข็มหมุด Culcita schmideliana (AS7) ปลิงทะเลที่มีโปรตีนสูงกว่าในดาวแดงคือปลิงหินหนาม Stichopus horrens (GSC1) ปลิงทะเลดํา H. leucospilota (GSC2) และปลิงทะเลหนวดกิ่งไม้สีเขียว C. quadrangularis (GSC4) นอกจากนี้ ดาวทะเลที่มีไขมันสูงกว่าดาวแดงได้แก่ดาวทราย A. polyacanthus (GS2) (ประมาณ 2%) ส่วนดาวทะเลสีส้ม Anthenea pentagonula (GS1) และดาวหมอนปักเข็มหมุด C. schmideliana (AS7) มีไขมันใกล้เคียงกับดาวแดง L. multiflora (AS1) (ประมาณ 1%) ในดาวทะเลพบปริมาณกรดไขมันอิ่มตัว (SFAs), กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFAs) กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) และกรดไขมันจําเป็น C18:2n6, C18:3n6, C20:4n6 และ C20:5n3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกรดไขมันชนิด SFAs พบสูงสุดในดาวทะเลสีทอง Linckia guildingi (AS5) ประมาณ 57.51%ของกรดไขมันทั้งหมดต่อน้ำหนักแห้ง (TFA dry wt.) กรด ไขมันMUFAs พบสูงสุดในดาวทะเลสีทอง L. guildingi (AS5) เช่นกันประมาณ 10.85%TFA dry wt. กรด ไขมัน PUFAs พบสูงสุดในดาวทะเลปุ่มใหญ่ Protoreaster nodosus (AS2) ประมาณ 19.68%TFA กรดไขมันจําเป็นที่ ARA (C20:4n6) พบในดาวแสงอาทิตย์ Luidia maculata (GS3) ปริมาณสูงสุด 14.51%TFA; 423.82 mg/ g dry wt. กรดไขมันจําเป็น EPA พบในดาวทราย Astropecten polyacanthus (GS2) ปริมาณสูงสุด 9.48%TFA; 422.87mg/ g dry wt. เฉพาะดาวแสงอาทิตย์ L. maculata (GS3) และดาวทราย A. polyacanthus (GS2) ที่มีกรดไขมันจําเป็น DHA เป็นองค์ประกอบ ในปริมาณ 1-2 % TFA. ในปลิงทะเลพบปริมาณกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (SFAs) กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFAs) กรด ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) และกรดไขมันจําเป็น C20:4n6 และ C20:5n3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยพบกรดไขมัน SFAs สูงสุดในปลิงทะเลหนวดกิ่งไม้สีเขียว Colochirus quadrangularis (GSC4) ในปริมาณ 26.95%TFA dry wt., พบ MUFAs สูงสุดในปลิงทะเลหนวดกิ่งไม้สี ชมพูเหลือง Cercodemas anceps (GSC3) ในปริมาณ 22.25%TFA dry wt. และพบ PUFAs สูงสุดในปลิงทะเลสีดํา Holothuria (Mertensiothuria) leucospilota (GSC2) ในปริมาณ 24.27%TFA โดยพบ C20:4n6 สูงสุดในปลิงหินหนาม Stichopus horrens (GSC1) ในปริมาณ 20.11%; 179.45 mg/ g dry wt. และพบ C20:5n3 สูงสุดในปลิงทะเลหนวดกิ่งไม้สีเขียว Colochirus quadrangularis GSC4 ใน ปริมาณ 8.85%; 306.72 mg/ g dry wt. ปลิงทะเลมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวจําเป็น DHA 29-62 mg/g dry wt. ในดาวทะเลพบว่ามีกรดอมิโนเป็นองค์ประกอบปริมาณต่างกัน ดาวทะเลสีน้ําเงิน Linckia laevigata (AS4) มีปริมาณกรดอะมิโนชนิดต่าง ๆ ในสูงกว่าดาวทะเลชนิดอื่น โครงการวิจัยที่ 2 ศึกษาสารสีแคโรทีนอยด์ (astaxanthin, beta-carotene, cantaxanthin, echineneone, zeaxanthin & lutein) และสารสีแอนโทไซยานินรวมในดาวทะเลจํานวน 9 ชนิดและ ปลิงทะเลจํานวน 3 ชนิด พบว่าสารสีในกลุ่มสารสีแคโรทีนอยด์ที่เป็นองค์ประกอบหลัก ของดาวทะเลและปลิงทะเลที่ศึกษาคือ astaxanthin and zeaxanthin & lutein ดาวแดง L. multiflora (AS1) มีสารสี astaxanthin ปริมาณ 1156.70 μg/g ของน้ำหนักเปียก ดาวทะเลที่พบสารสี astaxanthin มากกว่าที่พบในดาวแดง L. multiflora (AS1) คือดาวทะเลสีน้ําเงิน Linckia laevigata (AS4) และดาวทะเล Protoreaster nodosus (AS2) มีปริมาณเท่ากับ 27882 μg/g และ 1801.57 μg/g ของน้ำหนักเปียก ตามลําดับ สารสีชนิด zeaxanthin & lutein พบมากสุดในดาวแดง L. multiflora (AS1) ประมาณ 41.74 μg/g ของน้ําหนักเปียก สารสีแอนโทไซยานินรวมพบมากสุดในดาวทะเลหมอนปัก เข็มหมุด Culcita schmideliana (AS7) ประมาณ 4.49 μg/g ของน้ำหนักเปียกแต่ไม่พบสารสีกลุ่มนี้ใน ดาวแดง L. ในแผนงานวิจัยนี้ได้ศึกษาปริมาณความเข้มข้นและชนิดกรดอมิโนที่มีผลในการกระตุ้นให้สัตว์น้ำตอบสนองต่อสารเคมีในอาหาร พบว่ากรดอมิโนในดาวทะเลแตกต่างจากกรดอมิโนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้ ในอาหารกุ้งทั่วไป ในดาวทะเลมีกรดอมิโน glycine ปริมาณมากสุด รองลงมาได้แก่ glutamic proline alanine aspartic arginine ในขณะที่ในเนื้อปลาสด อวัยวะภายในของปลาคุณภาพดีและสาหร่ายซากัสซั่ม มีกรดอมิโน glutamic และ aspartic เป็นองค์ประกอบหลักแต่มีกรดอมิโน glycine น้อย ความแตกต่าง ของกรดอมิโนในตัวอย่างเหล่านี้จะนําไปศึกษาในโครงการวิจัยที่ 3 ต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3561
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_040.pdf1.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น