กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3556
ชื่อเรื่อง: | โครงการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวบูรพาทิศ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Creative tourism in the Eastern Areas |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณรงค์ พลีรักษ์ พรรณิภา อนุรักษากรกุล ธนภูมิ ปองเสงี่ยม มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การท่องเที่ยว -- แง่สังคม อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย (ภาคตะวันออก) ไทย (ภาคตะวันออก) -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว สาขาเศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและสำรวจข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดย บันทึกค่าพิกัดของแหล่งท่องเที่ยวด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System: GPS) จากนั้นจัดทำแผนที่ตำแหน่งที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวด้วยเทคนิคระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) และวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว จากการรวบรวมและสำรวจแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์พบว่า มีแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 39 แห่ง ตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา 6 แห่ง ชลบุรี 5 แห่ง ระยอง 7 แห่ง จันทบุรี 5 แห่ง ตราด 7 แห่ง ปราจีนบุรี 4 แห่ง และสระแก้ว 5 แห่ง ส่วนการประเมินความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีคะแนนรวมเท่ากับ 53 คะแนน หากมีคะแนนมากกว่า 27 คะแนน (มากกว่าร้อยละ 50) แสดงว่ามีความเป็นไปได้สูงในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จากการประเมินแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 39 แห่ง พบว่า แหล่งท่องเที่ยวทั้งหมดมีคะแนนมากกว่า 27 คะแนน โดยแหล่งท่องเที่ยวที่มีคะแนนเต็ม ได้แก่ ชุมชนบ้านน้ าเชี่ยว รองลงมา ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 50 คะแนน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบ-เอื้อง โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ได้คะแนนเท่ากัน คือ 48 คะแนน ในขณะที่แหล่งท่องเที่ยวที่ได้คะแนนน้อยที่สุด ได้แก่ ชุมชนบ้านท่าระแนะ 34 คะแนน เนื่องจากกิจกรรมยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ระหว่างเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวกับนักท่องเที่ยว และขาดการบริหารจัดการที่ดี กลยุทธ์การตลาดสำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วย (1) รูปแบบ ของกิจกรรมที่จัดขึ้นต้องก่อให้เกิดการเรียนรู้หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเจ้าของวัฒนธรรมกับ นักท่องเที่ยว (2) การส่งเสริมการตลาด เช่น การลดราคาหรือการจัดแพ็คเกจท่องเที่ยว ผ่านสื่อโชเชียลมีเดีย Facebook, Instagram และ Twitter (3) ข้อมูลข่าวสารของแหล่งท่องเที่ยวควรเผยแพร่ผ่าน เว็บไซต์หรือสื่อโซเชียลมีเดีย (4) กิจกรรมที่จัดขึ้นต้องมีความน่าสนใจ สามารถปรับและเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ และเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวหลายช่วงอายุ (5) สร้างจุดเด่นหรือความเป็นเอกลักษณ์ให้กับแหล่งท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาให้เกิดกิจกรรมที่มีความแปลกใหม่และน่าสนใจ และ (6) สร้างสิ่ง อำนวยความสะดวกพื้นฐานที่จำเป็น โดยเฉพาะควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการเดินทางและการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น จากผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ใน 2 ประเด็นหลัก คือ (1) การปรับปรุงกิจกรรมเดิมที่มีอยู่แล้ว และสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ขึ้น โดยกิจกรรมต้องก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ระหว่างเจ้าของแหล่ง ท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ (2) การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อดึงดูดและกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3556 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_039.pdf | 2.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น