กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3543
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
dc.contributor.authorอรวรรณ แก้วบุญชู
dc.contributor.authorมริสสา กองสมบัติสุข
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-05-03T07:27:11Z
dc.date.available2019-05-03T07:27:11Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3543
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีการประเมินการรับสัมผัสสาร Organic solvent และการประเมินระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกรวมถึงความสามารถในการทำงานของพนักงานเก็บเงินที่ด่านเก็บเงินในเขตกรุงเทพมหานคร โดยจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษามี 220 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 90 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 130 คน กลุ่มศึกษามีอายเฉลี่ย ุ 36.86 ปี และ 32.97 ปี สำหรับกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มศึกษามีสภาพการทำงานในแต่ละวันในหน้าที่หลักในการเก็บเงินและทอนเงินอยู่ 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 63.3 และทำงาน 5 วัน ต่อสัปดาห์ร้อยละ 83.3 มีการใช้อุปกรณ์ ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้งเพียงร้อยละ 10.0 โดยส่วนใหญ่มีการใช้ผ้าปิด จมูกร้อยละ 59.3 และพบว่า มีความสามารถในการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.9 ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า กลุ่มศึกษา (n=90) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Toluene 28.93±32.048 ppb, Xylene 68.17±8.591 ppb, Acetone 15.03±27.829 ppb และ Ethyl benzene 14.79±47.899 ppb และ มีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบวา่ กลุ่มศึกษา (n=90) มีค่าเฉลี่ย± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Hippuric acid 240.09±238.143 mg/g creatinine และ Methylhippuric acid 175.83±116.471 mg/g creatinineและระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจ ออกของกลุ่มศึกษา (n =82) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ (< 25 ppb) ร้อยละ 89.0 มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 15.98± 8.712 ppb นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Organic solvent ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า สาร Toluene, Xylene, Acetone และ Ethyl benzene มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05(p < 0.001, p<0.001, p< 0.001 และ p= 0.004 ตามลำดับ) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของ Hippuric acid และ Methylhippuric acid ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.019 และ p=0.011ตามลำดับ) และพบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณระดับไนตริคออกไซดข์องลมหายใจออกของกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p =0.002) และเมื่อหาความสัมพันธ์ พบว่าปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Organic solvent ในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคล กับความสามารถในการทำงาน พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันและความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณระดับ ไนตริคออกไซดข์องลมหายใจออกกับความสามารถในการทำงาน พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน จากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า กลุ่มศึกษามีการสัมผัสสาร Organic solvent ในขณะทำงานและปริมาณระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกเป็นตัวยืนยันในการสัมผัสสาร Organic solvent และควรจัดให้ความสำคัญกับโปรแกรมการป้องกันควบคุมและส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงการแนะนำ ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไปเพื่อใหม่ความสามารถในการทำงานเพิ่มมากขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล(งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสารตัวทำละลายอินทรีย์ -- แง่สิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectพนักงานเก็บเงิน -- ทางเดินหายใจth_TH
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพลูกจ้างth_TH
dc.subjectอาชีวอนามัยth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการประเมินการรับสัมผัสสาร Organic solvent และระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกที่มีผลต่อความสามารถในการทำงานของพนักงานเก็บเงินที่ด่านเก็บเงินในเขตกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeEvaluation of organic solvent exposure and exhaled nitric oxide affecting work ability among toll collectors at tolling stations in Bangkoken
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsriratl@hotmail.com
dc.author.emailorwan.kae@mahidol.ac.th
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativeThis research was a cross sectional study. The objectives were to evaluate organic solvent exposure, exhaled nitric oxide and work ability among toll collectors at tolling stations in Bangkok. We sampled 220 persons; 90 cases who worked as toll collectors and 130 controls. Mean age of the cases was 36.86 years old, whereas 32.97 years old for the controls.Sixty three point three percent of the cases worked 8 hours per day, 5 days per week (83.3%). Ten percent always used respiratory protection; however, most of them used only cotton masks (59.3%). Work ability was mostly at moderate level (58.9%). Collecting of personal organic solvent exposure was conducted using “Organic Vapor Monitor (3M 3500)”, attached to the lapel of each of the cases (n=90). Results of the study group showed an average toluene concentration of 28.93±32.048 ppb, xylene 68.17±8.591 ppb, acetone 15.03±27.829 ppb and ethylbenzene 14.79±47.899 ppb. Urine samples were collected at the end of work shift. Results of urine samples showed an average of hippuric acid of 240.09 ± 238.143 mg/g creatinine and methylhippuric acid of 175.83± 116.471 mg/g creatinine. Exhaled nitric oxide level (n=82) was mostly low (<25 ppb) (89.0%), with an average of15.98± 8.712 ppb. The average comparison of toluene, xylene, acetone and ethylbenzene concentration was significantly different between the study and control groups at 0.05 significant level (p < 0.001, p<0.001, p< 0.001 and p= 0.004 , respectively). The average comparison of hippuric acid and methylhippuric acid concentration was significantly different between the study and control groups at 0.05 significant level (p =0.019 and p= 0.011, respectively). The exhaled nitric oxide was significantly different between the study and control groups at 0.05 significant level (p =0.002). However, the relationship between organic solvent, hippuric acid, methylhippuric acid, exhaled nitric oxide and work ability among the study group were not significant. Based on the results of this study, organic solvent exposure among toll collectors was detected, and adversed health effect was confirmed by exhaled nitric oxide. Health promotion and protection programs should be emphasized. Respiration protective equipment should also be provideden
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_092.pdf2.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น