กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3540
ชื่อเรื่อง: | การประเมินผลกระทบการสั่นสะเทือนของโครงสร้างทางพิเศษยกระดับที่มีต่อผู้ปฏิบัติงาน ณ ด่านเก็บค่าผ่านทาง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Assessment on effect of elevated expressway structural vibration to toll station officers |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พัทรพงษ์ อาสนจินดา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ทางด่วน -- การสั่นสะเทือน ทางหลวงที่เก็บค่าผ่านทาง สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบการสั่นสะเทือนของโครงสร้างทางพิเศษยกระดับที่มีผลต่อบุคคลบริเวณสถานีชำระค่าผ่านทาง โดยทำการตรวจวัดขนาดและความถี่ของความเร่งการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปวิเคราะห์ระดับการรับรู้ที่มีต่อบุคคลซึ่งปฏิบัติงานบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทาง และนำไปเปรียบเทียบและนำเสนอเกณฑ์ระดับการรับรู้ต่อไปการศึกษาได้ทำการทดสอบ ณ ทางพิเศษยกระดับบูรพาวิถี ด่านชลบุรี โดยตรวจวัดความเร่งการสั่นสะเทือนในช่องบริการสำหรับยานพาหนะ ช่องบริการสำหรับยานพาหนะ 4 ล้อ แบบปกติและแบบ Easy Pass โดยติดตั้งหัววัดความเร่งเพื่อวัดค่าการสั่นสะเทือนที่ผิวจราจรและเกาะคอนกรีตซึ่งติดตั้งตู้เก็บค่าผ่านทาง และได้ทำการสัมภาษณ์ระดับการรับรู้การสั่นสะเทือนที่ส่งผลต่อบุคคล จากนั้นจึงได้นำข้อมูลการตรวจวัดและ การสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ระดับการสั่นสะเทือนที่ส่งผลต่อระดับการรับรู้ของบุคคล ตามปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ช่วงเวลาและปริมาณยานพาหนะ ประเภทยานพาหนะ ตำแหน่งของตู้เก็บค่าผ่านทาง และประเภทช่องบริการจากผลการศึกษาพบว่า ช่วงเวลาและปริมาณยานพาหนะมีผลต่อระดับ การรับรู้อย่างมีนัยสำคัญ โดยช่วงเวลาที่มีปริมาณยานพาหนะน้อยจะมีค่าระดับการรับรู้การสั่นสะเทือนที่สูงกว่า เนื่องจากผลของการเบรกยานพาหนะที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขณะเข้าด่านเก็บค่าผ่านทาง และพบว่ายานพาหนะที่มีน้ำหนักมากจะส่งผลให้ขนาดความเร่งการสั่นสะเทือนมีค่าเพิ่มขึ้น การติดตั้งตู้เก็บค่าผ่านทางบนเกาะคอนกรีตสามารถลดระดับการสั่นสะเทือนลงได้อย่างชัดเจนถึงประมาณร้อย ละ 19 การสั่นสะเทือนของช่องบริการแบบ Easy Pass จะมีระดับการรับรู้ที่ต่ำกว่าช่องบริการแบบ ปกติเนื่องจากไม่มีการหยุดรถ และงานวิจัยนี้ได้นำเสนอเกณฑ์ระดับการรับรู้การสั่นสะเทือนของทาง พิเศษยกระดับ ซึ่งสามารถแบ่งระดับการรับรู้ได้ 3 ระดับ ได้แก่ ไม่รู้สึก (imperceptible) รู้สึกได้บ้าง (barely perceptible) รู้สึกได้อย่างชัดเจน (distinctly perceptible) โดยมีขนาดการสั่นสะเทือนอยู่ ในช่วงระหว่าง 0.001g - 0.030g และมีค่าความถี่การสั่นสะเทือนอยู่ในช่วง 2 – 20 Hz |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3540 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2562_091.pdf | 4.72 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น