กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3537
ชื่อเรื่อง: ผลของด่างเร่งปฏิกิริยาต่อกําลังอัดคอนกรีตบล็อคชนิดรับนํ้าหนักจากเถ้าแกลบ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of alkaline activator on compressive strength of hollow load-bearing concrete masonry blocks from rice husk ash
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิเชียร ชาลี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คอนกรีตบล็อก
คอนกรีตผสมขี้เถ้าแกลบ
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ต่อกำลังอัดของคอนกรีตบล็อคจากวัสดุประสานจากเถ้าแกลบ ( ํ RHA) โดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่มีความเข้มข้นเท่ากับ 0, 0.25, 0.50 และ 0.75 โมลาร์ เป็นสารเร่งปฏิกิริยาปอซโซลานในคอนกรีตบล็อคจากเถ้าแกลบ ใช้เถ้าแกลบที่ได้จากโรงงานโดยตรงเป็นวัสดุปอซโซลานแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในอัตราส่วนร้อยละ 40, 50 และ 60 โดยนํ้าหนักวัสดุประสาน และใช้หินฝุ่นเป็นมวลรวม โดยใช้อัตราส่วนระหวางวัสดุประสานต่อหินฝุ่นเท่ากบ 1:6 โดย น้ำหนัก เตรียมคอนกรีตบล็อคจากเถ้าแกลบโดยใช้เครื่องอัดชนิดซินวา-แรม หลังจากนั้นบ่มคอนกรีตบล็อคในอากาศที่อุณหภูมิห้องจนถึงอายุทดสอบ โดยทดสอบกาลังอัดของคอนกรีตบล็อคจากเถ้า แกลบที่อายุ 7, 14 และ 28 วัน ตลอดจนทดสอบการดูดซึมนํ้าในคอนกรีตบล็อคที่อายุทดสอบ 28 วัน ผลการศึกษาพบว่า การใช้สารสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่มีความเข้มข้นสูงไม่เกิน 0.5 โมลาร์ มีผลให้คอนกรีตบล็อคมีกาลังอัดสูงขึ้น อย่างไรก็ตามกำลังอัดของคอนกรีตบล็อคจากเถ้าแกลบมี แนวโน้มลดลง เมื่อใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้นสูงขึ้นเป็น 0.75 โมลาร์ การใช้เถ้าแกลบในปริมาณที่มากขึ้น มีผลทําให้กำลังอัดของคอนกรีตบล็อคลดลงอยางชัดเจน นอกจากนั้นร้อยละ การดูดซึมน้ำในคอนกรีตบล็อคจากเถ้าแกลบมีแนวโน้มสูงขึ้นตามกำลังอัดที่ลดลง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3537
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_099.pdf4.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น