กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3502
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวรรณวรางค์ รัตนานิคม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-04-10T08:44:02Z
dc.date.available2019-04-10T08:44:02Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3502
dc.description.abstractการปรับปรุงคุณภาพดินโดยใช้สารผสมเพิ่มถือเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการ ก่อสร้างทางวิศวกรรม อย่างไรก็ตามการปรับปรุงคุณภาพดินให้มีประสิทธิภาพสูงสุดมีความจำเป็นต้อง เลือกใช้สารผสมเพิ่มที่เหมาะสม เนื่องจากดินต่างชนิดกันมีกลไกการกำเนิดดินและแร่ธาตุที่เป็น ส่วนประกอบที่แตกต่างกัน อีกทั้งอยู่ในลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่ต่างกัน ย่อมตอบสนอง ต่อปฏิกริยาเคมีมากน้อยแตกต่างกันตามไปด้วย เช่น โครงสร้างทางที่มีดินตะกอนบริเวณชายฝั่งทะเลเป็นวัสดุ มักได้รับอิทธิพลของซัลเฟตอิออนและคลอไรด์อิออน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดินบวมตัวสูงเนื่องจากสารประกอบยิปซัมและแคลเซียมซัลโฟอะลูมิเนตที่เกิดจากปฏิกริยาเคมี เป็นต้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของแมกนีเซียมซัลเฟตต่อค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวของดินตะกอนทะเลที่ถูกปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนขาว โดย (i) แปรผันปริมาณความเข้มข้นของแมกนีเซียมซัลเฟตต่อดินตะกอนทะเล โดยน้ำหนักแห้ง คือ 0% 3% และ 5% (ii) แปรผันอัตราส่วนผสมปูนขาว ต่อดินตะกอนทะเลโดยน้ำหนัก ส่วนผสมแห้งรวม คือ 0% 2% 4% 6% และ 8% และ (iii) แปรผันระยะเวลาการบ่มตัวอย่างดินคือ 0 วัน 7 วัน 14 วัน และ 28 วัน ผลการศึกษาพบว่าปริมาณความเข้มข้นของแมกนีเซียมซัลเฟตที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวของดินตะกอนทะเลที่ถูกปรับปรุงด้วยปูนขาวที่อัตราส่วนต่าง ๆ ลดลง ระยะเวลาการบ่มตัวอย่างดินที่เพิ่มขึ้นส่งผลทำให้ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวของตัวอย่างดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอัตราการลดลงของกำลังรับแรงอัดแกนเดียวมีแนวโน้มลดลงเมื่ออัตราส่วนผสมของปูนขาวเพิ่มขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectดิน -- การทดสอบth_TH
dc.subjectแมกนีเซียมซัลเฟต -- การทดสอบth_TH
dc.subjectวัสดุศาสตร์th_TH
dc.subjectสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัยth_TH
dc.titleผลกระทบของแมกนีเซียมซัลเฟตต่อการปรับปรุงคุณภาพดินตะกอนทะเลที่ถูกขุดลอกด้วยปูนขาว เพื่อใช้เป็นวัสดุทางเลือกใหม่ในงานทางth_TH
dc.title.alternativeInfluence of magnesium sulfate on lime-marine dredged sediments stabilization as a new material resource for road constructionen
dc.typeResearchen
dc.author.emailwanwarangr@buu.ac.thth_TH
dc.year2560th_TH
dc.description.abstractalternativeChemical stabilization is a popular technique to improve engineering characteristics of soils for constructions. However, in order to obtain an efficient soil improvement, appropriate selection of chemicals is very important. It is because the difference in soil characteristics, such as soil type, soil formation, geography and climate, and soil compounds, can affect chemical reactions differently. For example, the influences of sulfate ion and chloride ion when using marine sediment can cause soil swelling due to gypsum and Calcium Sulfoaluminate from the chemical reaction. The objectives of this research were to study the effect of magnesium sulfate on dredged marine sediments stabilized with lime. The variables of interest were (i) concentrations of magnesium sulfate of 0%, 3% and 5%, (ii) lime of 0%, 2%, 4%, 6% and 8% of dry total weight, and (iii) curing times of 0, 7, 14 and 28 days. The unconfined compressive strength was evaluated for all soil specimens. The results showed that increasing of magnesium sulfate concentration caused unconfined compressive strength to decrease. Increasing of curing time caused unconfined compressive strength to increase. Moreover, reduction rate of unconfined compressive strength tended to decrease when percent of lime increaseden
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_048.pdf1.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น