กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3444
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวดินกับพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The study of correlation between land surface temperature with urban and building area, a case study of Amphoe Mueang Rayong, Rayong province, Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นราธิป เพ่งพิศ สุพรรณ กาญจนสุธรรม แก้ว นวลฉวี ภัทราพร สร้อยทอง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การใช้ที่ดิน -- ไทย -- ระยอง ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ อุณหภูมิโลก |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวดินกับพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างโดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-8 และเลือกวิธีการประมาณค่าอุณหภูมิพื้นผิวดินแบบ Split-Window ที่ประกอบด้วย 3 พารามิเตอร์ที่สำคัญ ได้แก่ 1) อุณหภูมิความสว่าง 2) สภาพเปล่งรังสีของพื้นผิวโลก และ 3) ไอน้ำในชั้นบรรยากาศในการประมาณค่าร่วมกับการศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยวิธีการจำแนกแบบกำกับดูแล ผลจากการศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินพบว่า พื้นที่เกษตรกรรมมีพื้นที่เท่ากับ 290.86 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 56.46 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีพื้นที่เท่ากับ 89.77 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 17.42 พื้นที่อื่น ๆ มีพื้นที่เท่ากับ 70.54 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 13.69 พื้นที่ป่าไม้มีพื้นที่เท่ากับ 60.15 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 11.67 และพื้นที่แหล่งน้ำมีพื้นที่เท่ากับ 3.87 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 0.75 ผลจากการประเมินความถูกต้องของการจำแนกพบว่า มีค่าความถูกต้องโดยรวม เท่ากับ 78.80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อทำการศึกษาอุณหภูมิเฉลี่ยของแต่ละตำบล พบว่า ตำบลท่าประดู่ มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงที่สุดเม่ากับ 33.21 องศาเซียลเซียส รองลงมา คือ ตำบลเชิงเนิน มีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 31.71 และตำบลมาบตาพุด มีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 31.11 องศาเซลเซียส เนื่องมาจากตำบลดังกล่าวปกคลุมด้วยพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนใหญ่ ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหูมิพื้นผิวดินเฉลี่ยกับพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างนั้นมีความสัมพันธ์กันและมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.9604 นอกเหนือจากนี้จากการทำนายอุณหภูมิจากสมการถดถอยเชิงเส้น พบว่า ถ้าในอนาคตร้อยละ ของพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสรา้งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100 อำเภอเมืองระยองจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ประมาณ 5.69 องศาเซียลเซียส |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3444 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
gtb2n3p27-40.pdf | 888.9 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น