กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3443
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อจำแนกพื้นที่ยืนต้นยางพาราด้วยข้อมูลจากดาวเทียม กรณีศึกษา จังหวัดบลิคำไช สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชานลาว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Application of Geoinformation Technology for Classification of Para Rubber Plantation Areas The Case Study of Borikhamxai Province, Lao, PDR |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จินดา มูนละมณี สุพรรณ กาญจนสุธรรม แก้ว นวลฉวี นฤมล อินทรวิเชียร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ภูมิสารสนเทศ ยางพารา - - การจำแนก ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ แลนแซท |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจำแนกพื้นที่ยืนต้นยางพาราจากข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-8 ระบบ OLI ในปี พ.ศ. 2558 กรณีศึกษาจังหวัดบลิคำไช สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้วยวิธีการจำแนกการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ยางพารา โดยมีขั้นตอนการศึกษา คือ 1. การแบ่งส่วนภาพถ่ายจากดาวเทียม 2. การกำหนดคุณลักษณะของแต่ละส่วนภาพด้วยค่าดัชนีพืชพรรณ NDVI ของการใช้ที่ดินแต่ละประเภท 3. การเลือกพื้นที่ตัวอย่างสำหรับจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน 4. การจำแนกประเภทข้อมูลแบบ Nearest Neighbor และ 5. การประเมินความถูกต้องของการจำแนกพื้นที่ปลูกยางพารา ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดบลิคำไชมีพื้นที่ทั้งหมด 9,669,325 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 6.53 ของประเทศ การใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่ป่าไม้มีพื้นที่มากที่สุด คิดเป็น 8,431,785.18 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 6.53 ของประเทศ การใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่ป่าไม้มีพื้นที่มากที่สุดคิดเป็น 8,431,785,18 ไร่ หรือร้อยละ 87.20 รองลงมาคือ พื้นที่เกษตรกรรม คิดเป็น 850,876, .46 ไร่ หรือ 8.80 ส่วนพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้าง คิดเป็น 112,276.40 ไร่ หรือร้อยละ 1.16 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่แหล่งน้ำคิดเป็น 194,179.72 ไร่หรือร้อยละ 2.01 และมีพื้นที่ยืนต้นยางพารา รวมทั้งสิ้น 80,207.25 ไร่ รวมทั้งสิ้น 80,207.25 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของพื้นที่การใช้ประโยชนที่ดินทั้งจังหวัด โดยอำเภอที่มีพื้นที่ยืนต้นยางพารามากที่สุด คือ อำเภอปากกะดิง มีพื้นที่เท่ากับ 39,500.31 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 49.25 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 49.25 และอำเภอไชจำพอน มีพื้นที่ยืนต้นยางพาราน้อยที่สุดเท่ากับ 221.31 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.28 ผลจากการประเมินความถูกต้องสำหรับการจำแนก พบว่า ค่าความถูกต้องโดยรวมของการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน เท่ากับ 85.00 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งค่าความถูกต้องของพื้นที่ยืนต้นยางพารา ทั้งค่าความถูกต้องของการจำแนกข้อมูล (Producer Accuracy: PA) และค่าความถูกต้องสำหรับผู้ใช้งาน (User Accuracy: CA) นั้นอยู่ในระดับดี มีค่าเท่ากับ 96.15 และ 83.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3443 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
gtb2n3p13-26.pdf | 851.43 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น