กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3432
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการพยาบาลตามรูปแบบความเชื่อความเจ็บป่วยต่อความเครียด และการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของครอบครัวผู้ดูแล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of nursing intervention program based on illness belief model on family caregivers' stress and caring for stroke patients
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมบัติ น้ำดอกไม้
จินตนา วัชรสินธุ์
วรรณี เดียวอิศเรศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การพยาบาล
ความเครียด (จิตวิทยา) หลอดเลือดสมอง - - โรค - - ผู้ป่วย - - การดูแล
ผู้ดูแล
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษากึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลตามรูปแบบความเชื่อความเจ็บป่วยต่อความเครียดและการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของครอบครัวผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่าง คือ ครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 30 ราย เลือกด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลตามรูปแบบความเชื่อความเจ็บป่วย 4 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง ด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลความเครียดและการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของครอบครัวผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเครียดน้อย กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และมีคะแนนเฉลี่ยการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการวิจัยนี้ แสดงว่าโปรแกรมการพยาบาลตามรูปแบบความเชื่อความเจ็บป่วย สามารถนาไปใช้ในการดูแลครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อการลดความเครียดและเพิ่มสมรรถนะในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ดีขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3432
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
nus24n1p27-38.pdf325.7 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น