กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3431
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม ระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า และการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of lactational program on milk secretion time, onset of lactation and breastfeeding self-efficacy in mothers after Cesarean section
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุษา เชื้อหอม
ศิริวรรณ แสงอินทร์
กนกวรรณ โคตรสังข์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
น้ำนมคน
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2559
บทคัดย่อ: การวิจัยที่เปรียบเทียบได้กับการวิจัยแบบทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม ระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า และการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง ที่พักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลสิรินธร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวกตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 60 ราย ทาการสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมโดยการสุ่มสัปดาห์แรกเพียงครั้งเดียว แล้วเก็บข้อมูลสัปดาห์ละ 1 กลุ่มสลับกันไประหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจนได้กลุ่มตัวอย่างครบ 30 รายในแต่ละกลุ่ม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมร่วมกับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนม แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางสูติศาสตร์ แบบบันทึกการเริ่มไหลของน้ำนม แบบบันทึกระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า และแบบวัดการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทีแบบอิสระผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมและระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้าเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (t46.87 = - 4.32, p < .01 และ t51.22 = - 6.08, p < .01 ตามลาดับ) และมีการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (t58 = 2.62, p < .01) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมสามารถทำให้ระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมและการมาของน้ำนมเต็มเต้าเร็วขึ้น และมีการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรนาโปรแกรมนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3431
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
nus24n1p13-26.pdf538.03 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น