กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3426
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดจันทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factor predicting appropriated sexual behaviors among the lower secondary school students in Chanthaburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นวลพรรณ อิศโร ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผู้สูงอายุ - - สุขภาพจิต สุขภาพจิต |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 470 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องเพศแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ แบบสอบถามการเข้าถึงสถานบันเทิง แบบสอบถามการเข้าถึงสื่อทางเพศ แบบสอบถามการควบคุมกำกับของครอบครัว แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อนสนิท และแบบสอบถามพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .82, .73, .72, .86, .76, .71 และ .75 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่ากลุ่ม ตัวอย่างมีพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์อยู่ในระดับปกติ (ร้อยละ 73.62) ปัจจัยด้านการเข้าถึงสื่อทางเพศ (β = -.405) การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ (β = .092)พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อนสนิท (β = -.155) การ ควบคุมกำกับของครอบครัว (β = .112) และทัศนคติเกี่ยว กับเรื่องเพศ (β = .088) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยร่วมกัน ทำนายได้ร้อยละ 29.8 (R2 = .298, F(5, 464) = 39.339, p <.001) ซึ่งสร้างเป็นสมการทำนายในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ พฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ = 53.450 - .497 (การเข้าถึงสื่อทางเพศ) + .100 (การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ) -.297 (พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อนสนิท) +.247 (การควบคุมกำกับของครอบครัว) + .117 (ทัศนคติเกี่ยวกับเรื่อง เพศ) จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาล ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาควรพัฒนากิจกรรมหรือโปรแกรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ ของนักเรียนมัธยม ศึกษาตอนต้น ด้วยการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตน ทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องเพศ และการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยเน้นการควบคุมกำกับของครอบครัว |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3426 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
nus24n2p72-84.pdf | 282.81 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น