กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3418
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนสุขภาวะที่ท่ามะนาว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The driven model of healthy community in Thamanow |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิสากร กรุงไกรเพชร อริสรา ฤทธิ์งาม ชรัญญากร วิริยะ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การพัฒนาชุมชน - - ไทย - - ท่ามะนาว (ลพบุรี) คุณภาพชีวิต สุขภาวะ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนท่ามะนาวสู่ชุมชนสุขภาวะ และสมรรถนะของพยาบาลชุมชน ที่เป็นตำบลต้นแบบทั้งในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การรักษ์พลังงาน การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิต ใช้ยุทธศาสตร์กฎบัตรการสร้างเสริมสุขภาพออตตาวา เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ องค์กรชุมชนที่มีหน้าที่ในการจัดการสุขภาพชุมชน และภาคประชาชนรวมจำนวนทั้งสิ้น 18 คน โดยใช้วิธีบอกต่อในการเลือกผู้ให้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสนทนากลุ่มสัมภาษณ์เชิงลึก ประชุมกลุ่มย่อย ศึกษาดูงานกลุ่ม/ศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน สังเกต บันทึกภาพและเสียงการสนทนาและศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความถูกต้องและความหลากหลายโดยใช้วิธีเปรียบเทียบข้อมูลเรื่องเดียวกันหลายวิธี และจากหลายแหล่ง ผู้รวบรวมข้อมูลหลายคน และต่างช่วงเวลากัน และใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการขับเคลื่อนเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาของชุมชน นโยบายของผู้นำส่วนท้องถิ่น การหนุนเสริมศักยภาพชุมชนจากองค์กรภายนอก กระบวนการขับเคลื่อนประกอบด้วยการพัฒนาศักยภาพคนให้พึ่งพาตนเองได้ การระดมทุนความรู้ของชุมชนและทุนเงินจากภายนอกชุมชน การพัฒนาระบบบริหารจัดการจนเกิดระบบการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาลบนมุมมองการบูรณาการงานทุกมิติ จนเกิดชุมชนจัดการตนเองทั้งด้านสุขภาพและการดำเนินชีวิต เกิดการรวมกลุ่มที่หลากหลายในชุมชน มีการสืบทอดสู่คนรุ่นใหม่กระบวนการขับเคลื่อนได้สะท้อนให้เห็นภาพการสร้าง เป้าหมายร่วมกันของแกนนำชุมชน ความสามัคคีของแกนนำ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ของชุมชนมากกว่าผลสำเร็จเชิงปริมาณ การสะท้อนข้อมูลแก่ชุมชน การปรับกิจกรรมผ่านเวทีถอดบทเรียน เหล่านี้ส่งผลให้เกิดการปรับกลยุทธ์ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีพยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นผู้ประสานเชื่อมโยงร้อยความคิดของทุกภาคส่วนทั้งในและนอกชุมชน ผลของการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ และเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลชุมชนในการสร้างเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3418 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
nus24n3p34-46.pdf | 256.82 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น