กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3415
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อระดับความดันโลหิตของสตรี กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of the Qigong exercise program on blood pressure levels among prehypertensive women in Meuang district, Sing Buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลลิตา บุญงาม ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การออกกำลังกาย ความดันเลือดสูง - - การรักษาด้วยการออกกำลังกาย ชี่กง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อระดับความดัน โลหิตของสตรีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สตรีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 60 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทุกวันจันทร์-วันพฤหัสบดี ครั้งละ 60 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับความรู้ในการปฏิบัติ ตัวตามปกติ ประเมินระดับความดันโลหิตหลังสิ้นสุดการทดลอง 1 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย โปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กง คู่มือการออกกำลัง กายแบบชี่กง และเครื่องวัดความดันโลหิตแบบสอดแขน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกายแบบชี่กง ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของ ครอนบาคเท่ากับ .83 และแบบบันทึกระดับความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมอยู่ในระดับดี (M = 2.88, SD = 0.24) และเมื่อควบคุมอิทธิพลของระดับความดันโลหิต ซีสโตลิคและไดแอสโตลิค ก่อนการทดลองกล่มุ ทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตซีสโตลิคและไดแอสโตลิคต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(1, 57) = 196.03, p < .001; F(1, 57) = 67.36, p < .001 ตามลำดับ) จากผล การวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วย บริการระดับปฐมภูมิสามารถนำรูปแบบการออกกำลังกาย แบบชี่กงไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงใน ชุมชน เพื่อควบคุมป้องกัน การเกิดโรคความดันโลหิตสูง และลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3415 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
nus25n1p82-94.pdf | 264.59 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น