กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/336
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | อภิรักษ์ ชัยปัญหา | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:47:27Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:47:27Z | |
dc.date.issued | 2553 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/336 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาบทละครเวทีที่เสนอทัศนะทางสังคมและการเมืองต่อเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ที่ยังปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร 6 เรื่อง ได้แก่ ก่อนอรุณจะรุ่ง คือผู้อภิวัฒน์ ความฝันกลางเดือนหนาว สอบถามยอดค้างชำระ OCT.6102519 โดยพระจันทร์เสี้ยวการละคร นายซวย ตลอดศก โดยกลุ่มละครมะขามป้อม และบันทึกบนสนามหญ้าแดง โดยวิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาจุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์ 2) เพื่อศึกษาการนำเสนอเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ในบทละคร 3) ศึกษาลักษณะเด่นด้านองค์ประกอบของบทละคร เนื้อหางานวิจัยแบ่งเป็น 5 บท ได้แก่ บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึงความสำคัญของปัญหาและจุดมุ่งหมาย บทที่ 2 จุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์ บทที่ 3 การนำเสนอเหตุการ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ในบทละคร บทที่ 4 ลักษณะเด่นด้านองค์ประกอบของบทละคร บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า บทละครเวทีกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะสร้างสรรค์หรือปรับปรุงใหม่เพื่อใช้ในการแสดงเนื่องในโอกาสการรำลึกถึงเหตุการณ์ทั้งสอง ผู้ประพันธ์นำเสนอเหตุการณ์ในสองลักษณะ ได้แก่ การอธิบายกระบวนการ และการแสดงผลกระทบ บทละครส่วนใหญ่มักนำเสนอแนวคิดเรื่องความล่มสลายของครอบครัวไทยอันเกิดจากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้ประพันธ์มักกำหนดให้ตัวละครสำคัญเป็นชนชั้นล่างหรือชนชั้นกลาง และกำหนดให้มีอาชีพเป็นชาวนา นักการเมือง ทหาร ตำรวจ พ่อค้า และนักศึกษา ความขัดแย้งหลักมักเป็นเรื่องชนชั้นทางสังคม มีการนำเพลงที่ใช้ในเหตุการณ์ทั้งสองมาบรรจุเพื่อสร้างบรยากาศ การนำเสนอมักไม่เน้นแนวสมจริง ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากการละครเอพิคของแบร์ททอลท์ เบรคชท์ การศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบถึงบทบาทของศิลปินด้านศิลปะการแสดงร่วมสมัยของไทยที่มีต่อเหตุการณ์ข้างต้น นอกเหนือจากคุณค่าทางด้านสุนทรียรสที่ได้ในฐานะวรรณกรรมการละคร | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2548 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การจลาจล - - ไทย - - บทละคร | th_TH |
dc.subject | บทละครไทย - - การวิพากษ์ | th_TH |
dc.subject | บทละครไทย - - ประวัติและวิจารณ์ | th_TH |
dc.subject | ละครเวที | th_TH |
dc.subject | วรรณกรรมกับสังคม - - ไทย | th_TH |
dc.subject | วรรรกรรมการเมือง - - ไทย | th_TH |
dc.subject | สาขาปรัชญา | th_TH |
dc.title | บทละครเวทีที่เสนอทัศนะทางสังคมและการเมืองต่อเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ | th_TH |
dc.type | งานวิจัย | |
dc.year | 2553 | |
dc.description.abstractalternative | This research aims to study to study six plays written to offer social and political views on the Event of October 14, 1973 and October 6, 1976, They were before the Dawn (Kon Aroon Ja Rung) The Revolutionist (Khue Phu Apiwat) Mid-october Night's Dream (Khaom Fan Klang Duen Naw) OCT.6102519 by the crescent moon Theatre (Prachan Siaw Kan Lakhon). MR. Always Unlucky Man (Nay Suay Ta Lod Sog) by Makhampom Theatre Group (Klum Kakhon Makhampom), and The Diary From The Red Lawn (Ban Tuek Bon Sanum Ya Si Dang) by Vichapon Diloksambandh. The objectives of this research were to: 1) study the objectives of creative process 2) study the offering social and political views on the event of October 14, 1973 and October 6, 1976 on plays 3) study the distinction of literary element. The research is divide into five chapter: Chapter I: Introduction : the significance of the problem and the purpose of the work, Chapter II: The objectives of creative process, chapter III: The offering social and political views on the event of October 14, 1973 and October 6, 1976 on plays, Chapter IV: The distinction of literary element, and Chapter V: Conclusion explanation and suggestions. The result of this research showed that: most of these plays were written or adopted to be performed at an anniversary of those Events. The writters approached these historical events in two manners: reenacting the course of the events and showing the aftermath of these incidents. Most dramatic works outlined the failed family srtucture as a consequence of these political turmoil. The main characters were often farmer, politician, soldier, police, merchant and university students, most were of the lower and middle class. The plays' conflicts revolved around social class. The atmosphere of the plays was set by the tunes composed for these actual events. The style of the play was non-realistic, most likely influenced from the Epic Theatre of Bertolt Brecht. This study should reveal the dramatic works' aesthetic values as well the significant function and role of artists of contemporary theatre in these historical Events. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
127-148.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น