กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3363
ชื่อเรื่อง: | พิธีกรรมศพของคนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรี |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญรอด บุญเกิด บุญเลิศ ยองเพ็ชร นภัสวรรณ สุภาทิตย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ชาวไทย - - จีน - - พิธีศพ พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม พิธีศพ สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่องพิธีกรรมศพของคนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อของคนจีนแต้จิ๋วก่อนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี เพื่อศึกษารูปแบบพิธีกรรมศพขอคนไทยเชื้อสายจันในจังหวัดชลบุรี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำเสนอผลการศึกษาโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาปรากฏว่า ในระยะแรกของพิธีกรรมศพนั้นชาวจีนนำความเชื่อของลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋ามาผสมผสานกัน กล่าวคือ ลัทธิขงจื๊อสอนให้บุตรหลานมีความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ชาวจีนจึงต้องฝังศพเท่านั้น เนื่องจากการฝังศพสามารถจารึกชื่อแซ่และคุณความดีของบรรพบุรุษไว้ที่หน้าฮวงซุ้ย และมีการเขียนป้ายชื่อไว้กราบไหว้บูชาที่บ้านอีกด้วย เมื่อครบรอบวันเช็งเม้งต้องมีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย ทำให้ต้องมีการแสดงความกตัญญูอย่างไม่ขาดระยะ ส่วนลัทธิเต๋าสอนในเรื่องธรรมชาติ การหาฮวงซุ้ยจึงต้องหาทำเลทางธรรมชาติที่เหมาะสมและสามารถเกื้อกูลให้บุตรหลานมีโชคลาภในอนาคต เมื่อชาวจีนได้รับคติพุทธศาสนานิกายมหายานเข้าไว้จึงมีการจัดศาสนพิธีขึ้น เพื่อชำระล้างบาปและมลทินของดวงวิญญาณได้ประสบสุคติในปรโลก สำหรับชาวจีนที่อพยพมาตั่งถิ่นฐานในจังหวัดชลบุรี ได้นำเอาพิธีกรรมและความเชื่อต่างๆ ของตนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย เมื่อมีวัฒนธรรมจีนเข้ามามิได้หมายความว่าวัฒนธรรมไทยจะเกิดการสูญสลายไป เพราะวัฒนธรรมไทยก็มีความเข้มแข็งอยู่พอสมควรในฐานะที่เป็นเจ้าของพื้นที่ ผ่านการพัฒนาและการสั่งสมทางวัฒนธรรมเป็นเวลานาน ส่งผลให้วัฒนธรรมจีนในฐานะของผู้ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ จำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยให้ได้และสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้พิธีกรรมศพของคนจีนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรีเกิดการเปลี่ยนแปลงและการผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย คือ การแต่งงานและลักษณะของครอบครัว ศาสนาและความเชื่อ การศึกษา อย่างไรก็ดี ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรีแม้จะมีการปฏิบัติตามพิธีกรรมคล้ายคลึงกับที่เคยปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต แต่ความไม่เข้าใจในประเพณีอย่างถ่องแท้ อีกทั้งผลกระทบจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความเป็นสมัยใหม่รวมทั้งความไม่เข้าใจในความเป็นจีนเหมือนชาวจีนรุ่นก่อน เพราะมีความป็นไทยเข้ามาผสมผสานมาก ย่อมทำให้รูปแบบการจัดงานรวททั้งพิธีกรรมในการปฏิบัติแปรเปลี่ยนไปบ้าง แต่สิ่งที่เหลืออยู่คู่กับความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีนก็คือดวงวิญญาณของบรรพบุรุษจะไม่ได้รับความลำบาก และได้ไปอยู่ในภพภูมิที่ดี |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3363 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
politic8n1p323-340.pdf | 338.41 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น